วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คุณค่าที่ 1 : คุณค่าทางภูมิศาสตร์ (6)

คุณค่าที่ 1 ใน 4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์ : 
คุณค่าทางภูมิศาสตร์ (6)
普洱茶的四大价值之一 : 地理价值 (六)




        ii. ความหลากหลายทางระบบนิเวศจุลินทรีย์คือ “เทพารักษ์” ของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่

        วิทยาศาสตร์ปัจจุบันสามารถยืนยันได้แล้วว่า สรีรวิทยาพืชและจุลินทรีย์มีความสัมพันธ์ที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ รากของพืชจะหลั่งสารเพื่อป้อนให้จุลินทรีย์ที่มีความต้องการ ขณะเดียวกันจุลินทรีย์ก็ผลิตสารต่างๆกลับคืนสู่ให้พืช สองฝ่ายเป็นหุ้นส่วนที่ต้องอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพา ถ้าต้องการให้พืชเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ นอกจากปริมาณน้ำและธาตุอาหารแล้ว ยังต้องมีจุลินทรีย์มามีส่วนร่วมด้วย

        ความจริง เมื่อต้นชาเริ่มกำเนิดขึ้นมา ไม่ว่ามันมาจากเมล็ดพันธุ์หรือจากหน่อต้นไม้ เวลาที่มันยังเป็นต้นอ่อนที่บอบบาง จุลินทรีย์ก็ได้มาปกคลุมทั่วบริเวณของมันแล้ว เสมือนเป็น “พี่เลี้ยง”(保姆) อยู่ดูแลมัน พวกเราจะพบเห็นได้จาก ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล  ผิวภายนอกทั่วร่างของพืชได้สวมใส่เสื้อนอกตัวหนึ่งที่เนื้อผ้าคือจุลินทรีย์

        ดังนั้น พวกมันจะรีบแปรเป็น “ทีมงาน”(团队) ที่แต่ละกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์จะปฏิบัติภารกิจโดยแบ่งหน้าที่กันทำตามลำดับ จุลินทรีย์กลุ่มเชื้อสังเคราะห์แสงจะเป็นผู้ผลิตกลุ่มแรก ดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์มาแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานเคมี เพื่อเตรียมเป็น “วัตถุตัวกลาง”(媒介) สำหรับปฏิกิริยาสังเคราะห์แสงของต้นชา

        ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่เช่นเดียวกับพรรณไม้อื่นที่ไม่สามารถใช้ไนโตรเจนจากอากาศโดยตรงได้ ไนโตรเจนที่พืชต้องการทั่วไปได้จากการตรึงไนโตรเจนทางชีวภาพ การตรึงไนโตรเจนทางพลังงานสูง(เช่นจากฟ้าผ่าและภูเขาไฟระเบิด) หรือไนโตรเจนทางอุตสาหกรรม ดังนั้น จุลินทรีย์อีกกลุ่มเชื้อคือกลุ่มเชื้อแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนจะมารับงานช่วงต่อ ทำให้ต้นชามีแหล่งธาตุไนโตรเจน แล้วจะมีจุลินทรีย์อีกกลุ่มเชื้อทำการย่อยสลายของเสียที่ขับถ่ายออกจากสัตว์และซากสัตว์และพืชจะได้แอมโมเนียออกมา แอมโมเนียนี้ก็จะถูกไนตริไฟอิงแบคทีเรียทำการแปรเปลี่ยนเป็นเกลือไนเตรตที่ต้นชานำไปใช้เป็นประโยชน์ได้

        “สงครามปกป้อง”(保卫战) สำหรับต้นชาไม้ใหญ่ เกิดขึ้นที่รอบๆเขตบริเวณของรากต้นชาในดิน ที่นี้ปกคลุมด้วยจุลินทรีย์อย่างหนาแน่นมาก เชิงวางกำลังทหารเต็มอัตราศึกใว้ป้องกันศัตรู จุลินทรีย์ชนิดที่ประจำอยู่รอบวงราก(根圈菌)หน้าที่ของมันคือ ไม่เฉพาะทำการย่อยสลายของเสียที่ขับถ่ายออกจากพืชและสัตว์และพวกซากให้เกิดการแปรเปลี่ยนแล้ว จุลินทรีย์เหล่านี้จะหลั่งสารอินทรีย์ต่างๆออกมา ประกอบด้วย กรดอะมิโน กลุ่มน้ำตาลเชิงเดี่ยว กรดนิวคลีอิก(RNA) โฮร์โมนช่วยเร่งการเจริญเติบโต และเอนไซม์ชนิดต่างๆ เป็นต้น เพื่อส่งเสริมธาตุอาหารที่ต้นชาต้องการ มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่อย่างเด่นชัด ภายในดินผืนหนึ่ง จุลินทรีย์ที่มีจุดเด่นอาจมีผลกระทบต่อความอยู่รอดและการแพร่พันธุ์ของจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ จุลินทรีย์ที่มีจุดเด่นแต่ไม่เหมาะสมต่อสภาวะแวดล้อมใหม่ได้ตายไป จุลินทรีย์ชนิดใหม่บางชนิดที่มีความเหมาะสมก็จะเจริญเติบโตขึ้นมาแทนที่ การเปลี่ยนแปลงแทนที่ก็จะปรากฏบนผิวดิน เมื่อถึงจุดสภาวะที่คงที่แล้ว จากหน้าข้างของดินตรงส่วนรากของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ เราสามารถที่จะสังเกตเห็นเป็นปรากฏการณ์ที่จุลินทรีย์แบ่งเป็นชั้นๆ

        มีจุลินทรีย์บางชนิดเป็นแบบ “ถึงรากถึงโคน”(激进) คือได้ทะลุเข้าไปในเนื้อเยื่อของรากและเจริญเติบโตในเซลล์ของราก จุลินทรีย์ประเภทนี้ถูกขนานนามว่า “จุลินทรีย์ในราก”(菌根菌) มันนอกจากไม่ทำลายเนื้อเยื่อของรากแล้วแต่จะทำการแลกเปลี่ยนสารกับเซลล์ของราก แบบอยู่ร่วมกันต่างตอบแทน ทำให้รากมีฤทธิ์ เพิ่มพลังการดูดซึม มีผลดีต่อพืชในการเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง และเพิ่มพลังต้านทานโรคตามธรรมชาติ

        ถ้าไม่มีส่วนร่วมจากจุลินทรีย์เหล่านี้ ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ก็ยากที่จะอยู่รอดจวบจนถึงวันนี้ ยิ่งไม่ต้องคุยว่าอยู่รอดถึงหลายร้อยปี หรือกว่าพันปีได้

        iii. ความหลากหลายทางระบบนิเวศจุลินทรีย์คือ “โรงงานผลิต” แหล่งธาตุอาหารตามธรรมชาติของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่

        ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะจากธรรมชาติ นอกจากภูมิประเทศที่เฉพาะเจาะจง ภูมิอากาศและความหลากหลายทางชนิดพันธุ์แล้ว โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของจุลินทรีย์ถือเป็นปัจจัยหนึ่งและเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก

        ความหลากหลายทางระบบนิเวศจุลินทรีย์และการมีส่วนร่วมของจุลินทรีย์ไม่เพียงช่วยให้ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ต้านทานต่อการรุกรานของโรคต่างๆจากแมลง ยังเป็นแหล่งธาตุอาหารที่ทยอยป้อนเข้าไป ทำให้มันดูสวยสดใสเหมือนใหม่และทนทานแข็งแรงตลอดเวลา

        กระบวนบวนการเมตาโบลิซึมจำนวนมากของจุลินทรีย์ เช่นจุลินทรีย์กลุ่มสร้างอาหารเองจากการสังเคราะห์ทางเคมี การดำรงชีวิตโดยไม่ใช้ออกซิเจน การสังเคราะห์แสงโดยไม่เกิดออกซิเจน ปฏิกิริยาการตรึงไนโตรเจนทางชีวภาพ ศักยภาพของการแปรเปลี่ยนสารอินทรีย์ที่สลับซับซ้อน ศักยภาพในการสลายสารพิษไซยาโนเจน ฟีนอล Polychlorinated Biphenyl เป็นต้น ความสามารถที่ทนต่อสภาวะแวดล้อมอย่างยิ่งยวด ร้อน หนาว ความเป็นกรด-ด่าง ความดันสูง กัมมันตภาพรังสี เป็นต้น ทั้งหมดทั้งปวงนี้ทำให้ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่มี “สารพื้นฐาน” ที่มั่นคง

        สิ่งที่น่าจะขอทบทวนอีกครั้ง คือ บทความนี้เป็นการกล่าวถึงจุลินทรีย์ที่ได้ “สอดแทรก” เข้าไปในไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ เป็นเพียงกระบวนการเริ่มต้นของวัตถุดิบของชาผูเอ๋อร์ ยังไม่ได้โยงใยถึงวิธีการผลิตของชาผูเอ๋อร์ เมื่อถึงกระบวนการผลิตชาผูเอ๋อร์ไม่ว่าจะเป็นชาดิบหรือชาสุก อิทธิพลที่มีต่อคุณภาพชาผูเอ๋อร์จากการมีส่วนร่วมของกลุ่มจุลินทรีย์จะยิ่งใหญ่กว่ามาก ผู้เขียนจะทำการวิเคราะห์อย่างละเอียดในบทความต่อไปเรื่อง “คุณค่าทางวิธีการผลิตที่พิเศษเฉพาะของชาผูเอ๋อร์

........ยังมีต่อ........


(แปล-เรียบเรียง-ย่อ จากบทความ 4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์ --- คุณค่าที่ 1 : “คุณค่าทางภูมิศาสตร์”...เขียนโดย เฉินเจี๋ย)

โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/

คุณค่าทางภูมิศาสตร์ (5)
คุณค่าทางภูมิศาสตร์ (7)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น