วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คุณค่าที่ 1 : คุณค่าทางภูมิศาสตร์ (4)

คุณค่าที่ 1 ใน 4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์ : 
คุณค่าทางภูมิศาสตร์ (4)
普洱茶的四大价值之一 : 地理价值 (四)



        IV. ลักษณะพิเศษเฉพาะทางความหลากหลาย

        ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวโดดๆดำรงอยู่ในหยินหนาน แต่เป็นลักษณะ “ครอบครัวใหญ่”(大家族) เขตพื้นที่ต่างกัน เงื่อนไขทางภูมิประเทศต่างกันและจุดเด่นของความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ใบชาต้นพันธุ์ใบใหญ่จากต่างเขตพื้นที่มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างกัน แม้ว่ารูปลักษณ์ภายนอกของพวกมันมีความคล้ายคลึงกัน แต่จำนวนเซลล์โครโมโซมและพฤติกรรมจะไม่เหมือนกัน

        นี้เป็นเพราะว่า ในท่ามกลางระบบนิเวศอันกว้างใหญ่ไพศาลที่ก่อกำเนิดขึ้นในหยินหนาน และเนื่องจากภูมิประเทศ ภูมิอากาศไม่เหมือนกัน ก่อให้เกิดเป็นระบบย่อยๆที่อยู่รวมกันภายใต้ระบบนิเวศใหญ่ และแต่ละระบบย่อยต่างก็มีอัตลักษณ์ของตนเอง

        อย่างภูมิอากาศของหยินหนานป็นตัวอย่าง ภูมิอากาศและลักษณะภูมิประเทศของหยินหนานที่มีลักษณะสัมพันธ์แบบตรงกันข้ามอย่างน่าประหลาด เช่นเขตภูเขาสูงหุบเขาลึกในภาคตะวันตกเฉียงเหนือมีสภาพอากาศแบบแถบมิติภูเขา พื้นที่ลาดเอียงจากความสูงระดับน้ำทะเลหลายร้อยเมตรถึงหลายพันเมตร จะเป็นลักษณะ “สิบลี้ไม่อยู่ใต้ฟ้าเดียวกัน”(十里不同天) ส่วนเส้นรุ้งที่เหนือเส้นศูนย์สูตร(北回归线)เช่นสิบสองปันนาที่อยู่ทางภาคใต้ สภาพอากาศเป็นแถบป่าฝนมรสุมเขตร้อน(热带季雨林气候) อุณหภูมิทั้งปีจะร้อนเหมือนฤดูร้อน ฤดูฝนจะอยู่ระหว่างฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง ภาคอีสานจะมีสภาพอากาศแถบลมมรสุมโซนร้อน(亚热带季风气候) มี 4 ฤดูที่ชัดเจน ฤดูร้อนจะร้อน ฤดูหนาวจะหนาว ฝนและร้อนอยู่ในฤดูเดียวกัน ส่วนเขตพื้นที่อื่นๆที่เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของมณฑลจะมีสภาพอากาศแถบที่ราบสูงเส้นรุ้งต่ำ(低纬高原气候) คือแบบ “4 ฤดูดั่งฤดูใบไม้ผลิ”(四季如春) จึงมีทิวทัศน์ที่สวยงดงามตามธรรมชาติ ลมมรสุมที่มีอิทธิพลต่อหยินหนานมาจากอ่าวบังคลาเทศ เป็นกระแสอากาศที่พัดพาละอองน้ำมหาศาลมาด้วย ทำให้เกิดฝนตกชุกในหยินหนาน

        ลักษณะเช่นนี้ทำให้ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ต่างเขตพื้นที่ต่างมีจุดเด่นของตนเอง แล้วไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่เขตพื้นที่ต่างๆรวมเป็น “ครอบครัวใหญ่” ต่างก็มีลักษณะเด่นเฉพาะตนเหมือน “ดอกไม้นานาพรรณบานสะพรั่ง”(百花齐放)

        เมื่อกล่าวถึงด้านนี้แล้ว มีนักศึกษาวิจัยชาผูเอ๋อร์จำนวนมากได้ทำงานวิจัยจำนวนไม่น้อย เช่น ได้จัดแบ่งพื้นที่ชาผูเอ๋อร์โดยยึดตามขุนเขา จากเดิมมี 6 ขุนเขาโบราณ(古代的六大茶山) ออกเป็น 20 ขุนเขายุคปัจจุบัน(现代的二十大茶山)

        ข้อเท็จจริง จากมุมมองของผู้บริโภค ตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน ผู้คนมีความนิยมชมชอบชาจากแต่ละเขตพื้นที่ไม่เหมือนกัน ชาผูเอ๋อร์จากแต่ละเขตพื้นที่ต่างก็มี “แฟนพันธุ์แท้”(发烧友) ของตนเอง ยืนอยู่บนมุมมองของประวัติศาสตร์ พวกเราจะสังเกตเห็นว่า ความนิยมของผู้คนจากต้นจนจบไม่ได้ยึดติดกับเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่เป็นไปตามพัฒนาการของประวัติศาสตร์ ความนิยมต่อเขตพื้นที่ก็เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เกี่ยวข้องอย่างมากกับปัจจัยทางการเมือง ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เขตพื้นที่ชาผูเอ๋อร์ที่ได้รับความนิยมในประวัติศาสาตร์มีการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใดเป็นเพราะคุณภาพได้แปรเปลี่ยนไป ความเป็นจริง การเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่แต่ละครั้ง เนื่องจากชาผูเอ่อร์มีผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ๆเพิ่มเข้ามา ถือเป็นกรอบที่เปิดให้ชิมลิ้มลองชาผูเอ๋อร์อย่างเสรี ทำให้ “แฟนพันธุ์แท้” ของชาผูเอ๋อร์จากชื่นชอบชิมดื่มชาจากเขตพื้นที่เดียวหันไปสู่หลายเขตพื้นที่และผลิตภัณฑ์หลายๆชนิดที่พัฒนาออกมา จากชื่นชอบผลิตภัณฑ์จากโรงงานเดียวเปลี่ยนเป็นจากหลายๆโรงงานที่ผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน ลักษณะเช่นนี้ ชาผูเอ๋อร์จึงได้ก้าวเข้าสู่ระดับ “วัฒนธรรมนานาชาติ”(海洋文化) นานมาแล้ว ซึ่งแตกต่างจากชาบางพื้นที่ในประเทศจีนที่ยังคง “วัฒนธรรมปิดผนึก”(封闭文化) แสดงถึงการชื่นชมตัวเองมากเกินไป แต่วัฒนธรรมชาผูเอ๋อร์สามารถหยั่งรากออกผลที่ กว่างตง ฮ่องกง ใต้หวัน และสามารถได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วภายในประเทศ นี้เป็นเหตุผลหนึ่ง---ความล้ำหน้าทางวัฒนธรรม

        ปรากฏการณ์เช่นนี้ คือ วัฒนธรรมหยินหนานที่มีลักษณะครอบคลุมและลักษณะแบบเปิด ชาผูเอ๋อร์ของหยินหนานที่สามารถดำรงความเป็นมากว่าพันปีในประวัติศาสตร์ นอกจากคุณภาพของมันแล้ว ผู้คนได้ซึมซับความรู้สึกจากวัฒนธรรมแต่ละเขตพื้นที่ที่ไม่เหมือนกันและวัฒนธรรมภูมิปัญญาสะสมที่สืบทอดกันมา และนี้เป็นความลับธรรมชาติที่เปิดเผยให้พวกเรารับรู้จากคุณค่าทางภูมิศาสตร์ที่มีเฉพาะในหยินหนาน สุดท้าย วัฒนธรรมหนึ่งที่ก่อเกิดและสร้างขึ้นมาจะหลีกหนีไม่พ้นพื้นฐานจากสภาพแวดล้อมภูมิประเทศที่เฉพาะและสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้อง คือ ความหลากหลายของคุณค่าทางภูมิสาสตร์ที่ปรากฏแผ่กระจรกระจายออกไป

        หยินหนาน...อาจเป็นเพราะสิ่งน่ามหัศจรรย์เช่นนี้

........ยังมีต่อ........


(แปล-เรียบเรียง-ย่อ จากบทความ 4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์ --- คุณค่าที่ 1 : “คุณค่าทางภูมิศาสตร์”...เขียนโดย เฉินเจี๋ย)

โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/


คุณค่าทางภูมิศาสตร์ (3)
คุณค่าทางภูมิศาสตร์ (5)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น