วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คุณค่าที่ 1 : คุณค่าทางภูมิศาสตร์ (7)

คุณค่าที่ 1 ใน 4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์ : 
คุณค่าทางภูมิศาสตร์ (7)
普洱茶的四大价值之一 : 地理价值 (七)




        iv. ความหลากหลายทางระบบนิเวศจุลินทรีย์เป็นลักษณะเด่นของคุณสมบัติทางธรรมชาติและคุณสมบัติที่ลอกเลียนแบบไม่ได้

        ความหลากหลายทางระบบนิเวศจุลินทรีย์นอกจากความหลากหลายทางชนิดพันธุ์แล้ว ยังประกอบด้วยความหลากหลายทางสรีรวิทยา ความหลากหลายทางระบบนิเวศ และความหลากหลายทางพันธุกรรม นี่เป็นระบบที่หลากหลายและใหญ่มหึมา ขอเพียงมีเงื่อนไขหนึ่งปรับเปลี่ยนไป ส่วนที่เหลือก็จะปรับเปลี่ยนตาม

        พวกเราสามารถทำการปรับเปลี่ยนสภาวะแวดล้อมธรรมชาติขนาดเล็กๆได้ แต่ระบบนิเวศธรรมชาติขนาดใหญ่ไม่สามารถจำลองทัดเทียมและลอกเลียนแบบได้ เพราะมันมีสิ่งต่างๆมากมายที่พวกเรายังไม่รู้

        อีกอย่าง เนื่องจากจุลินทรีย์มีขนาดที่เล็กมาก และปัจจุบันยังมีข้อจำกัดของวิธีการศึกษา ประชากรจุลินทรีย์จำนวนมากยังไม่สามารถทำการแยกออกมาเพาะเลี้ยงได้ จำนวนชนิดที่ทราบเทียบกับจำนวนคาดการณ์อัตาส่วนยังน้อยมาก

        ต่อกรณีการหมักของชาผูเอ๋อร์ เรามักเจอกับคำถามที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก : ทำไมการหมักของชาผูเอ๋อร์ยังเป็นแบบดั้งเดิมโบราณ? ทำไมไม่ใช้วิธีการหมักแบบอุตสาหกรรมผลิตยา ยกเลิกการเพาะเชื้อตามธรรมชาติ หันมาใช้วิธีการเพาะเชื้อแบบการสังเคราะห์เพื่อการผลิตที่ปลอดภัยขึ้น?

        คำตอบง่ายมาก ปัจจุบันพวกเรายังไม่ทราบว่ากลุ่มจุลิรทรีย์ที่มีส่วนร่วมในการหมักชาผูเอ๋อร์มีจำนวนเท่าไรกันแน่? แม้ว่ามีนักวิจัยจำนวนมากได้ทำการแยกชนิดและกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์บางส่วนออกมาได้ แต่นี้เป็นส่วนที่เล็กมาก ไม่สามารถสรุปรวบยอดใช้ในการผลิตได้ ดังนั้น ปัจจุบันวิธีการผลิตชาผูเอ๋อร์และการหมักต่อเนื่องภายหลัง ยังหลีกหนีไม่พ้นวิธีการแบบดั้งเดิมที่ตกทอดจากประวัติศาสตร์ เช่น การเพาะพันธุ์ตามธรรมชาติ บรรยากาศและบนผิวพื้นดินของสถานที่การหมักมีกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์พันล้าน หรือเกินหมื่นล้านที่กระจายไปทั่วจะ “บุกรุกเข้าไป”(侵入) ตามธรรมชาติ ร่วมด้วยช่วยกันทำงาน “การผลิต” รวมถึงการหมักกองของชาสุกที่พัฒนาได้ในยุคหลัง ก็ยังหลีกหนีไม่พ้นวิธีการเพาะเชื้อตามธรรมชาติแบบโบราณ เมื่อเทียบกับความหมายที่แท้จริงของกระบวนบวนการหมักยุคสมัยใหม่ยังห่างไกลกันมาก

        ขณะเดียวกัน วิธีการเพาะเชื้อตามธรรมชาติแบบนี้ ประกอบกับปัญหาสภาพทางสุขอนามัยของสถานที่การหมักไม่ค่อยดีนัก ผู้คนจำนวนมากมีความห่วงใยว่าชาผูเอ๋อร์อาจเกิดมลภาวะครั้งที่ 2 เพราะจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในบรรยากาศและบนผิวพื้นดินคงไม่ใช่เชื้อจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยขน์ทั้งหมด ยังมีเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มที่มีโทษจำนวนมากด้วย แต่มีอยู่จุดหนึ่ง เป็นสิ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากประหลาดใจมาก ก็คือจากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ชาผูเอ๋อร์ของหยินหนาน ชาผูเอ๋อร์หยินหนานของแท้จะมีจุลินทรีย์กลุ่มก่อโรคไม่เกินค่ามาตรฐาน นี้เป็นเพราะอะไร?

        คำตอบก็ยังง่ายมาก ใบชาต้นพันธุ์ใบใหญ่ประกอบด้วยไขมันในปริมาณต่ำ ประกอบกับการสลายและแปรเปลี่ยนในระหว่างขบวนการหมัก เชื้อแบคทีเรียอีโคไลที่มีอยู่ในบรรยากาศและบนผิวพื้นดินได้สูญเสีย “แหล่งอาหาร” แบบกาฝากไป ดังนั้น ความห่วงใยต่อการเกิดมลภาวะครั้งที่ 2 จากการเพาะเชื้อตามธรรมชาติ อาจเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องให้ความสำคัญอีก

        อาจเป็นเพราะวิธีการเพาะพันธุ์ตามธรรมชาติแบบนี้ ทำให้ชาผูเอ๋อร์ปรากฏคุณค่าที่แท้จริงของตัวมัน ขอเพียงสถานที่การผลิตและห้องปฏิบัติการหมักต้องอยู่ในหยินหนานซึ่งมีคุณค่าของห่วงโซ่ทางระบบนิเวศแบบวัฏจักร เมื่อเป็นเขตผลิตชาผูเอ๋อร์ ประกอบกับวิธีการทำตามวิธีแบบดั้งเดิม คุณภาพออกมาก็จะเป็นไปตามลักษณะพิเศษของชาผูเอ๋อร์ กลับกัน ถ้าหากไม่มีคุณค่าทางภูมิศาสตร์มาค้ำจุน ก็เพียงแต่สามารถทำออกมามี “ความคล้ายคลึงทางรูปลักษณ์” แต่ยังขาดคุณค่าหัวใจสำคัญ “ความคล้ายคลึงทางจิตวิญญาณ

        เมื่อพวกเราเผชิญหน้ากับชาผูเอ๋อร์ ซึ่งชาผูเอ๋อร์ต้องอาศัยระบบนิเวศจุลินทรีย์แบบนี้ มนุษย์เมื่อมาเทียบกันแล้ว ดูเหมือนพวกเรายังเล็กกระจิริดกว่า พวกเรามักชอบแหงนมองดูดาวบนท้องฟ้า(ก้มหน้าอ่านความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์บนโทรศัพย์มือถือ...ผู้แปล) สวดอ้อนวอนขอลมขอฝน และถ้าประสบกับภัยน้ำท่วม ภัยพายุและภัยพิบัติอื่นๆ พวกเราล้วนต้องพบกับการสูณเสียครั้งยิ่งใหญ่ เพราะว่าบ้านเรือนสามารถสร้างใหม่ได้ สายไฟที่ขาดสามารถต่อติดกันใหม่ได้ แต่ความหลากหลายทางระบบนิเวศจุลินทรีย์ยากที่จะสร้างใหม่ได้ เราสามารถที่จะไปทำลายมัน เช่น ตัดโค่นป่าไม้ เปิดเขาตัดถนน มนุษย์คิดที่จะจำลองหรือสร้างระบบลักษณะแบบนี้ขึ้นมาใหม่ ยากยิ่งกว่าขึ้นสวรรค์ ดังนั้น การเพาะพันธุ์ตามธรรมชาติในขั้นตอนการหมักชาผูเอ๋อร์ ไม่ว่าเป็นภาวะจำยอม และยังเป็นสิ่งที่ล้าสมัยก็ดี แต่เป็นทางเลือกโดยได้ใช้สติปัญญารอบคอบที่สุดแล้ว และก็เป็นทางเลือกที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สุด ในเมื่อมนุษย์เราปลดปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เคารพและนับถือธรรมชาติ ดีกว่าที่ไปขัดขืนธรรมชาติแล้วคาดคะเนคิดเองว่าจะได้สิ่งที่เป็นวิทยาศาสตร์มากกว่า นอกจากนี้---การทำให้ผู้บริโภคชาผูเอ๋อร์มีความสุขกับผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่สุด แล้วเป็นความผิดตรงไหน?


บทส่งท้าย :

        นักวิชาการชาผูเอ๋อร์ของหยินหนานท่านหนึ่งได้นำประวัติการพัฒนาของชาผูเอ๋อร์แบ่งออกเป็น 4 ยุคสมัย คือ ผูเอ๋อร์เกษตรกรรม(农业普洱) ผูเอ๋อร์วัฒนธรรม(文化普洱) ผูเอ๋อร์วิทยาศาสตร์(科学普洱) ผูเอ๋อร์มนุษยชาติ(人文普洱) ถือเป็นข้อสรุปของกระบวนการพัฒนาของชาผูเอ๋อร์ทางวิทยาศาสตร์ ตามทฤษฎีนี้ ปัจจุบันชาผูเอ๋อร์กำลังอยู่ในยุคสมัยของ “ผูเอ๋อร์วิทยาศาสตร์

        จากมุมมองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิตของชาผูเอ๋อร์ “ผูเอ๋อร์วิทยาศาสตร์” เมื่อเทียบกับผูเอ๋อร์เกษตรกรรมและผูเอ๋อร์วัฒนธรรมที่แนวทางศึกษาแบบหยาบและล้าสมัยจะแตกต่างกัน เป็นกระบวนการโดยใช้แนวทางวิทยาศาสตร์อันทันสมัยที่สุดมานิยามกำหนดคุณค่าของชาผูเอ๋อร์ขึ้นมาใหม่ วิธีการศึกษาวิจัยที่เป็นแบบแผน ข้อมูลตัวเลข มาตรฐาน และไฮเทค ทำให้การศึกษาทางวิทยาศาตร์และความนิยมชื่นชอบของชาผูเอ๋อร์ถูกผลักดันไปในทิศทางที่ยิ่งก้าวล้ำหน้าขึ้นไป คุณค่าทางภูมิศาสตร์ของชาผูเอ๋อร์เป็นขอบเขตของความรู้ที่สำคัญหนึ่งใน “ผูเอ๋อร์วิทยาศาสตร์” และถือเป็นวิศวกรรมพื้นฐานของ “ผูเอ๋อร์วิทยาศาสตร์”

........จบบริบูรณ์........


หมายเหตุ : เมื่อได้อ่านบทความ “คุณค่าทางภูมิศาสตร์” จบ คิดว่าคงพอที่จะเข้าใจแล้วว่า วัตถุดิบของชาผูเอ๋อร์(ใบชาจากไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่)จากแหล่งหยินหนานทำไมถึงมีคุณลักษณะพิเศษที่มีคุณค่าทางภูมิศาสตร์ ไม่ว่าความหลากหลายทาง ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ระบบนิเวศธรรมชาติ ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะเจาะจง โดยเฉพาะความหลากหลายทางระบบนิเวศจุลินทรีย์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ชาผูเอ๋อร์ตามธรรมชาติสามารถมีอายุยืนยาวยืนต้นอย่างองอาจทระนงกว่าหลายร้อยปี และกว่าพันปี ระบบนิเวศจุลินทรีย์ยิ่งจะมีความสำคัญในกระบวนการผลิตชาผูเอ๋อร์

        เพื่อการเข้าใจความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์อย่างต่อเนื่อง จากวัตถุดิบดีสู่ผลิตภัณฑ์ที่ดี ต้องผ่านวิธีการผลิตที่ดี ถ้าสนใจ “เคล็ดวิชา” วิธีการผลิตของชาผูเอ๋อร์ อย่าลืมติดตามบทความ(แปล) “คุณค่าทางกรรมวิธีการผลิตที่พิเศษเฉพาะของชาผูเอ๋อร์” ในเฟสเพจนี้เช่นเดิมครับ


(แปล-เรียบเรียง-ย่อ จากบทความ 4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์ --- คุณค่าที่ 1 : “คุณค่าทางภูมิศาสตร์”...เขียนโดย เฉินเจี๋ย)

โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/

คุณค่าทางภูมิศาสตร์ (6)
คุณค่าทางวิธีการผลิตที่พิเศษเฉพาะ (1)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น