บนมิติทางประวัติศาสตร์ อะไรเอ่ยคือ “ชาผูเอ่อร์”?
ชาผูเอ่อร์มิใช่การพลิกหาคำนิยามในมาตรฐานแห่งชาติอย่างง่ายๆ จากจุด ณ ปัจจุบันแล้วมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์อันใกล้ --- ชาผูเอ่อร์มิใช่แนวคิดทางกรรมวิธีการผลิต แต่เป็นแนวคิดทางวัฒนธรรม ซึ่งแนวคิดทางวัฒนธรรมจะพัฒนาและล่องลอยตามพัฒนาการทางประวัติศาตร์
ช่วงเวลาของประวัติศาตร์ที่แตกต่างกันจะได้ตำตอบไม่เหมือนกัน แนวคิดจะมีการพัฒนาและเลื่อนลอย ชาผูเอ่อร์ในช่วงเวลาที่ต่างกันก็จะมีโฉมหน้าที่ปรากฏต่อผู้คนแตกต่างกัน ใช้วิธีการคิดแบบนี้ ปัญหานี้ก็จะไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป
ก่อนอื่น อ้างอิงตามกาลเวลาและพัฒนาการ จะขอแยกแยะช่วงเวลาทางประวัติศาตร์ของชาผูเอ่อร์อย่างคร่าวๆออกเป็น 5 ระยะ :
1) ระยะแรกเริ่ม
ชาผูเอ่อร์ยังไม่เข้าสู่ในวัฒนธรรมชาวฮั่น ดำรงอยู่ได้โดยเป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านชองชนเผ่าทางตอนใต้ของอวิ๋นหนาน ในช่วงเวลานี้ ชาผูเอ่อร์มิใช่เป็นชาดิบและก็ไม่ใช่เป็นชาสุก ทุกวันนี้พวกเราสามารถมองเห็นร่องรอยบางส่วนได้ในชากระบอกไม้ไผ่และการคั่วชาในโถดินเผา(罐罐烤茶)
2) ระยะตั้งต้น
ชาผูเอ่อร์แรกเริ่มมิใช่ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมชาวฮั่น หลังจากการเปลี่ยนการปกครองโดยกำเนิดเป็นการปกครองแบบปกติ(改土归流)ในปี 1729 รัชกาลหย่งเจิ้งราชวงศ์ชิง วัฒนธรรมชาวฮั่นและวัฒนธรรมพื้นบ้านอวิ๋นหนานจึงได้ผสมผสานกัน ทำให้ “ชาผูเอ่อร์/普洱茶” คำนี้ปรากฏอยู่ในภาษาจีนฮั่น วัฒนธรรมชาวฮั่นได้แพร่ขยายเข้าไปในฝั่งเหนือของแม่น้ำล้านช้างเขตสิบสองปันนา พื้นที่แถบนี้ปัจจุบันเรียกขานกันว่า “หกขุนเขาชาโบราณ” เมื่อมาถึงที่นี้ กรรมวิธีการผลิตชาและขนบธรรมเนียมทางสุนทรียภาพของชนเผ่าฮั่นกับทรัพยากรท้องถิ่นก็ประสานกัน รูปลักษณ์ของชาผูเอ่อร์ที่พวกเราเห็นอยู่ในทุกวันนี้ก็ค่อยๆปรากฏตัวออกมา
3) ระยะรุ่งเรือง
จากยุครุ่งโรจน์แห่งรัชกาลคัง-เฉียน(康乾盛世)ถึงปลายยุคสาธารณรัฐจีน เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของ “ฉาหมากู่ต้าว(เส้นทางโบราณที่ใช้คาราวานม้าเป็นพาหนะในการขนส่งใบชาผูเอ่อร์)” ทำให้ชาผูเอ่อร์พัฒนาอย่างไม่หยุดยั่ง ก่อเกิดเป็นอุตสาหกรรมการผลิตขนานใหญ่ ในช่วงเวลานี้ ชาผูเอ่อร์ไม่เพียงมีชาดิบ(น้ำชาสีเขียวเหลือง : ที่ส่งไปขายยังที่ราบสูงภาคกลางของจีน(ตงง้วน/中原)) และมีชาหมัก(น้ำชาสีแดง : ที่ส่งไปขายยังธิเบตและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ติดกับทะเล(นันยาง/南洋))
4) ระยะชะงักงัน
เมื่อชาผูเอ่อร์พัฒนามาจนถึงปลายยุคสาธารณรัฐจีน เนื่องจากสงครามโลก II ฉาหมากู่ต้าวถูกตัดขาด ประวัติศาตร์ชาผูเอ่อร์ต้องหยุดอย่างกะทันหัน ระยะนี้รวมเป็นเวลา 50 ปี นับจนถึงยุคปี 90 ก่อนที่ชาวใต้หวันและฮ่องกงเดินทางมาอวิ๋นหนานเพื่อปลุกกระแสธุรกิจการค้าชาผูเอ่อร์ขึ้นมาใหม่ ในช่วงเวลานี้ ชาผูเอ่อร์มีการส่งออกโดยบริษัทจงฉาก็เพียงเป็นการฝืนรักษาธุรกิจนี้ไว้เท่านั้น ชาผูเอ่อร์ไม่ได้รุ่งโรจน์อย่างที่เคยเป็นมาก่อน
หลังระยะชะงักงัน ชาผูเอ่อร์ได้ตกต่ำถึงระดับไหน? กลางยุคปี 90 ได้มีการไปสำรวจและสอบถามคนแก่ในเขตพื้นที่เมืองผูเอ่อร์ ถามสิบคน สิบคนล้วนไม่รู้จักอะไรที่เรียกว่าชาผูเอ่อร์ ส่วน “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ยิ่งไม่เคยได้ยินมาก่อน
ชาสุกผูเอ่อร์ยุคปัจจุบันกำเนิดขึ้นมาในปี 1973 การคิดประดิษฐ์ชาสุกขึ้นมาก็เพื่อรักษาการสั่งซื้อใบชาอวิ๋นหนานจากแถบนันยาง ทำให้แนวคิดของชาผูเอ่อร์ยังคงดำรงอยู่ต่อไป
5) ระยะฟื้นฟู
เริ่มจากยุคปี 90 เนื่องจากสังคมมีความเจริญมั่นคงและปลดปล่อย เศรษฐกิจได้รับการพัฒนาขึ้นมา ระบบสารสนเทศและโลจิสติกส์ที่เจริญรุดหน้าเป็นตัวกระตุ้นให้ฉาหมากู่ต้าวมีชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่ แนวคิดชาผูเอ่อร์ได้ฟื้นกลับคืนมา จนถึงหลังปี 2000 เศรษฐกิจชาผูเอ่อร์ได้เติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถยับยั้งได้แล้ว
มาทำความเข้าใจทำไมมาตรฐานแห่งชาติจีนจึงกำหนดเช่นนี้?
ในปี 2008 ได้ประกาศใช้ “มาตรฐานชาผูเอ่อร์ระดับชาติ” อย่างเป็นทางการ ซึ่งได้ครอบคลุมทั้งชาดิบและชาสุก แต่มีข้อสงสัยมาตลอดว่า ดูทางด้านกรรมวิธีการผลิตแล้ว ชาดิบและชาสุกเป็นสองสิ่งที่ไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิง แล้วทำไมอยู่ในมาตรฐานเดียวกันได้?
แต่ถ้าเข้าใจถึงเนื้อหาที่ได้อธิบายข้างต้น ซึ่งก็คือตรรกะของพัฒนาการทางประวัติศาตร์ของชาผูเอ่อร์ ก็จะพบเห็นมาตรฐานแบบนี้อาจไม่สมบูรณ์แบบ (ความเป็นจริงก็ไม่มีมาตรฐานใดที่สมบูรณ์แบบ) แต่สามารถเชื่อมโยงความทรงจำทางวัฒนธรรมของชาผูเอ่อร์อย่างได้ผล
ขอเพียงให้คุณเข้าใจว่า ชาผูเอ่อร์มีกรรมวิธีการผลิตอย่างไรขึ้นอยู่กับวิถีการผลิตของสังคมในช่วงเวลานั้น ส่วนแนวคิดชาผูเอ่อร์คือมีความหมายทางวัฒนธรรมที่กว้างใหญ่ไพศาล
เอกสารอ้างอิง :
普洱茶是生茶还是熟茶? : https://zhuanlan.zhihu.com/p/82071616?utm_id=0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น