วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ระยะแรกเริ่ม : ชาผูเอ่อร์เริ่มแรกมีรูปลักษณะอย่างไร?

 

▲ชาเมี่ยง/酸茶


        จาการแยกแยะช่วงเวลาประวัติศาสตร์ของชาผูเอ่อร์ ช่วงแรกเรียกว่า “ระยะแรกเริ่ม/原生期” --- ระยะที่ “ชาผูเอ่อร์” ยังอยู่ในวงนอกของวัฒนธรรมชาวฮั่น


        ทำไมต้องมาเน้นย้ำระยะแรกเริ่ม?


        เนื่องจากนักศึกษาประวัติศาสตร์ชาผูเอ่อร์บางท่าน ชอบนำเหตุการณ์การปฏิรูปการปกครองโดยกำเนิดเป็นการปกครองแบบปกติในปี 1729 มาเป็นจุดตั้งต้นของประวัติศาสตร์ชาผูเอ่อร์ ความคิดเห็นเช่นนี้ถือเป็นการยึดวัฒนธรรมชาวฮั่นเป็นศูนย์กลางนิยม ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อารยธรรมวัสดุ


        “ผูเอ่อร์/普洱(puer)” เป็นคำทับศัพท์ เป็นคำที่ยืมเค้ามา

        ถ้าเช่นนั้น การออกเสียง “puer” ปรากฏขึ้นมาได้อย่างไร? มีความหมายอย่างไรกันแน่?


        หยางไฮ่ฉาว(杨海潮) อาจารย์มหาวิทยาลัยอวิ๋นหนาน ผู้ทำการศึกษาฉาหมากู่ต้าว หลังจากได้ทำการค้นหาและอนุมานเป็นลำดับมา ค้นพบว่า การออกเสียง “puer”  นี้เกิดขึ้นครั้งแรกในวัฒนธรรมเผ่าไตโบราณ(古代傣泰文化)

        เขตพื้นที่หลักที่ผลิตชาผูเอ่อร์ในทุกวันนี้โดยพื้นฐานก็ถูกครอบคลุมด้วยวัฒนธรรมเผ่าไต ชาผูเอ่อร์ถือกำเนิดบนพื้นที่นี้ มองทางภูมิศาสตร์ก็ดูสมเหตุผลดี สอดคล้องกับการอนุมานทางภาษาศาสตร์


        นอกจากนี้ ศาสตราจารย์วังฟง(汪峰) มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้ตรวจสอบหาความจริงกับอีกปัญหาหนึ่ง โดยเชื่อว่าภาษาจีนคำว่า “ชา/” มาจากคำว่า “*la” ของภาษาโลโล-พม่า(彝缅语


        บรรดาภาษาถิ่นในเขตพื้นที่ผลิตชาผูเอ่อร์ของอวิ๋นหนาน เช่น ภาษาไตสิบสองปันนา ภาษาปลัง(ปู้หล่าง/布朗) เป็นต้น ล้วนเรียกชาว่า “ล่า/” 

        ชื่อพื้นที่ที่ลงท้ายด้วย “ล่า/” เช่น เหมิ่งล่า/勐腊 (เมืองล้า) ก็คือพื้นที่ผลิตชา แปลว่าดินแดนแห่งชา


        พูดถึงจุดนี้แล้ว “ผูเอ่อร์/普洱” และ “ชา/” ก็เกิดการพัวพันรวมกันเป็น “ชาผูเอ่อร์/普洱茶” จากด้านภาษาศาสตร์ประกอบกับหลักฐานวัตถุทางภูมิศาสตร์ ก็สามารถยืนยันอย่างคร่าวๆได้ว่า เขตพื้นที่นี้ก็คือแหล่งกำเนิดของ “ชาผูเอ่อร์” 

        หลังวัฒนธรรมชาวฮั่นกับชาผูเอ่อร์ได้มาบรรจบกันแล้ว จึงยืม “ชาผูเอ่อร์” คำนี้ไปใช้โดยตรง ซึ่งก็คือว่า ช่วงที่วัฒนธรรมชาวฮั่นยังไม่ได้สัมผัสกับแขตพื้นที่นี้ ก็มีชาผูเอ่อร์กันแล้ว


        ชาผูเอ่อร์ในช่วงเวลานี้ควรมีรูปลักษณะอย่างไร? 


        รูปโฉมของผลิตภัณฑ์หนึ่งจะได้รับอิทธิพลทางสุนทรียภาพของตลาด เมื่อชาผูเอ่อร์และวัฒนธรรมชาวฮั่นยังไม่ได้เกี่ยวข้องกัน ก็จะไม่ถูกวัฒนธรรมชาวฮั่นมากระทบ โดยมีเอกลักษณ์ที่คงรูปตามวัฒนธรรมท้องถิ่น

        ทุกวันนี้ในเขตไกลพ้นที่เป็นดินแดนติดกับเขตพื้นที่ชนกลุ่มน้อย ยังสามารถพบเห็นวิถีการทานใบชาที่อยู่นอกเหนืออิทธิพลของวัฒนธรรมชาวฮั่น อาทิเช่น ชากระบอกไม้ไผ่ ชาเมี่ยง ซึ่งน่าใกล้เคียงกับโฉมหน้าดั้งเดิมของชาผูเอ่อร์

▲ชากระบอกไม้ไผ่/竹筒茶

        ทุกวันนี้ชาผูเอ่อร์ที่พูดด้วยภาษาจีน กับชาผูเอ่อร์ที่พูดโดยชนกลุ่มน้อยในเขตพื้นที่โบราณ ความเป็นจริงไม่ใช่สิ่งของอย่างเดียวกันแล้ว


        พูดถึงตรงจุดนี้ แล้วมาดูปัญหาก่อนหน้านี้ที่พบเห็นบ่อยในตลาด ซึ่งเป็นที่น่าชวนหัว อย่างเช่นการโต้เถียงถึงอะไรคือ “กรรมวิธีการทำชาแบบโบราณ”?

        ต้องเข้าใจก่อนว่า เทคโนโลยีการหลอมโลหะของมนุษย์ในประวัติศาสตร์มีการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน

         เนื่องจากโลหะทองแดงบนผิวโลกมีปริมาณน้อยมาก ดังนั้น เครื่องทองสัมฤทธิ์โบราณจะใช้เป็นภาชนะในพิธีกรรมเป็นส่วนใหญ่ ผลิตภัณฑ์โลหะเป็นที่นิยมใช้ในหมู่คนทั่วไปก็ต้องคอยมาถึงยุคเหล็ก

        จากการศึกษาวิจัยภาษาไตโดยโจวย้าวเหวิน(周耀文) และหลอเหม่ยเจิน(罗美珍) มีความเชื่อว่า “เหล็ก(lek)/ ” ในภาษาไตเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาจีนฮั่น เนื่องจากก่อนหน้านี้ในชีวิตประจำวันยังไม่มีเหล็กปรากฎ การออกเสียงก็ใกล้เคียงกับการออกเสียงของภาจีนฮั่น


        มีกระทะเหล็กแล้วจึงสามารถทำการผัดอาหารได้  จึงก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมการกินอาหารผัด

        ชนชาวถิ่นส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอวิ๋นหนาน อดีตกาลไม่ปรากฏมีเทคโนโลยีการหลอมโลหะ ดังนั้น ก่อนที่จะได้มาสัมผัสวัฒนธรรมชาวฮั่น ตลอดมาไม่มีขนบธรรมเนียมประเพณีกินอาหารผัด

        ทุกวันนี้ในสิบสองปันนา จะพบเห็นท้องถิ่นยังนิยมการปิ้งย่างอยู่ ยิ่งเป็นพื้นที่ห่างไกล ยิ่งได้ทานอาหารรสไตดั้งเดิม ถ้าหากมีอาหารที่ใกล้เคียงกับอาหารผัด ก็คือนำไปห่อเผาย่างออกมา

 

        ปัญหาเกิดแหละ ในเมื่อไม่มีกระทะเหล็ก แล้วจะทำการคั่วชาได้อย่างไร? ถ้าหากเน้นย้ำว่าเป็นรสชาจากใช้กรรมวิธีโบราณ ความเป็นจริงเมื่อเอ่ยถึง “คั่ว/” แล้ว ก็คงไม่ค่อยจะโบราณแล้วเอยยยย

▲การคั่วใบชาบนกระทะเหล็ก เรียกว่า “คั่วเขียว/炒青


เอกสารอ้างอิง :

原生期 : 普洱茶的原初是什么模样?https://m.puercn.com/show-13-222104.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น