คุณค่าที่ 3 ใน 4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์ :
คุณค่าทางพัฒนาการ (2)
普洱茶的四大价值之三 : 陈化价值 (二)
คุณค่าทางพัฒนาการ (2)
普洱茶的四大价值之三 : 陈化价值 (二)
เพราะเหตุอันใดชาผูเอ๋อร์จึงเกิดปรากฏการณ์”เก็บชา”ที่เป็นเฉพาะ? คำตอบง่ายมาก---เพราะชาผูเอ๋อร์มีคุณลักษณะพิเศษที่ดำรงไว้ซึ่ง “ยิ่งเก่ายิ่งหอม”(越陈越香)…(ปลายบทความตอนที่แล้ว)
“ยิ่งเก่ายิ่งหอม” คืออะไร ? ทำไมถึงมากด้วย “เวทมนตร์” ?
“ยิ่งเก่ายิ่งหอม” คือมโนภาพที่พรรณากระบวนพัฒนาการของชาผูเอ๋อร์ เป็นสายโซ่เส้นหนึ่งในโครงสร้างทั้งหมดของชาผูเอ๋อร์ เนื้อหาแก่นแท้ของมันคือกลไกพัฒนาการ คือคุณค่าอันยิ่งใหญ่ที่ 3 ของชาผูเอ๋อร์---คุณค่าทางพัฒนาการ พูดอีกนัยหนึ่ง “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” เป็นภาษาที่ใช้สื่อถึงกลไกพัฒนาการของชาผูเอ๋อร์ “ยิ่งเก่า” คือแนวความคิดทางกาลเวลา “ยิ่งหอม” คือแนวความคิดทางด้านคุณภาพ กระบวนพัฒนาการของชาผูเอ๋อร์คือกระบวนการสุดท้ายของการผลิตชาผูเอ๋อร์ เป็นกุญแจสำคัญของการเพิ่มหรือการสร้างคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น
แต่ทว่า ปัจจุบัน “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” กลับกลายเป็น “ประเด็น” ของชาผูเอ๋อร์ที่มีข้อโต้แย้งมากที่สุด
ผู้มีข้อสงสัยบางส่วนเชื่อว่า : ชาผูเอ๋อร์ไม่ดำรงไว้ซึ่ง “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” เมื่อชาผูเอ๋อร์จัดเก็บไว้เป็นระยะเวลายาวนานแล้ว ก็จะไม่มีรสชาติแล้ว แม้ว่าในสังคมยังมี “ชาผูเอ๋อร์แก่”(老普洱茶) บางส่วนเหลืออยู่ แต่เมื่อชิมดื่มแล้วไม่มีรสชาติชาเหลืออยู่ นี่ยังถือเป็นชาอีกหรือไม่? เพราะฉะนั้น ชาผูเอ๋อร์ไม่มีคุณค่าในการเก็บเป็นระยะเวลายาวนาน การที่บุคคลบางคนในวงการชาผูเอ๋อร์กล่าวว่า ชาผูเอ๋อร์สามารถเก็บได้นาน และคุณภาพจะยิ่งเก็บยิ่งดี นั้นเป็นการหลอกลวง เพื่อให้ผู้บริโภคทำการเก็บชาเป็นจำนวนมากๆ การกล่าวเช่นนี้ที่แท้ทำให้ผู้บริโภคใช้ชาผูเอ๋อร์เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งในการลงทุน เป็นการเปลี่ยนแปลงคุณค่าของชาผูเอ๋อร์จากตัวมันเอง
ผู้มีข้อสงสัยที่ไม่เห็นด้วยกับ “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ของชาผูเอ๋อร์เกิดจากการเข้าใจความหมายของตัวหนังสือที่คลาดเคลื่อนไป พวกเขาเห็นว่า ในเมื่อคือ “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” แล้ว กลิ่นหอมก็ควรเฉกเช่นชาเขียวหรือชาอูหลง ถ้าตามความเข้าใจลักษณะนี้ ชาผูเอ๋อร์ไม่เพียงไม่มี “กลิ่นหอมใส”(清香) แบบชาเขียว ยิ่งไม่มี่ “กลิ่นหอมพิศวง”(奇香) แบบชาอูหลง ถ้าพูดเฉพาะด้านกลุ่มสารกลิ่นหอมแล้ว ชาผูเอ๋อร์จะไม่ใช่ “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” แต่เป็น “ยิ่งเก่ายิ่งอ่อน” “ชาผูเอ๋อร์แก่” จำนวนมากจะมีกลิ่นหอมที่อ่อนมาก สิ่งที่จะยืนยัน “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ของชาผูเอ๋อร์คือ “สิ่งสมมุติขึ้น”(子虚乌有) จากตัวมันเอง
ส่วนวงการชาผูเอ๋อร์เห็นว่า “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ของชาผูเอ๋อร์ ไม่สามารถตีความตามตัวหนังสือ(望文生义)แบบง่ายๆโดยไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของมัน ความเป็นจริงมันประกอบด้วยความหมาย 2 ด้านด้วยกัน : หนึ่งคือชาผูเอ๋อร์หลังผ่านพัฒนาการแล้ว ยังมีกลุ่มสารกลิ่นหอมเช่น กลิ่นการบูร(樟香) กลิ่นกล้วยไม้(兰花香) กลิ่นพุทราจีน(枣香) เป็นต้นเหลืออยู่ กลิ่นลักษณะนี้จะมีเฉพาะในชาผูเอ๋อร์ เทียบกับกลิ่นของชาเขียวและชาอูหลงจะแตกต่างกัน ไม่สามารถใช้มาตรฐานการชิมดื่มของชาเขียวและชาอูหลงไปสวมใช้และเปรียบต่างได้ สองคือ “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ของชาผูเอ๋อร์เป็นการสื่อให้เห็นมโนภาพแบบหนึ่งของกระบวนพัฒนาการชาผูเอ๋อร์ ซึ่ง “ยิ่งหอม” ไม่เพียงแค่บ่งชี้ทางด้านกลิ่นหอมเท่านั้น ยังแสดงถึงแนวความคิดทางด้านคุณภาพด้วย
ถ้าเช่นนั้น ข้อคิดเห็นไหนซึ่งโน้มน้าวได้มากกว่ากัน?
พวกเราทำการชิมดื่มชาเขียวเพื่อจำแนกความแตกต่างทั่วไปจะใช้วิธี “ทดสอบโดยประสาทสัมผัส”(感官审评) อย่างเช่นรูปลักษณะของใบชา สีน้ำชาจากการชงใบชา รูปลักษณะเป็นเส้นๆของกากชา กลิ่นและรสชาติของน้ำชา เป็นต้น การทดสอบเหล่านี้ส่วนใหญ่จะอาศัยวิธีตาดู ปากชิม บวกประสบการณ์ มันเป็นการทดสอบใบชาที่ตกทอดจากปประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นวิธีที่ดั้งเดิมที่สุด แต่ทว่า ตา ปาก จมูกของคนเราไม่ใช่เครื่องมือวิเคราะห์ทางเคมี ยากที่จะค้นพบและแยกแยะองค์ประกอบที่มีกว่าหลายร้อยชนิดและปริมาณมากน้อยในใบชาได้ ทำให้กระบวนการจำแนกความแตกต่างเกิดความผิดพลาดได้ บางครั้งความผิดพลาดนี้จะแตกต่างกันมาก เป็นเพราะว่าอวัยวะประสาทสัมผัสของคนเรา นอกจากปัจจัยทางด้านความรู้สึกของการมองเห็น การดมกลิ่น การได้ยิน การสัมผัสและการรับรู้รสแล้ว ยังมีความแตกต่างทางสภาพร่างกายของแต่ละคน ขณะเดียวกัน อุปนิสัยในการดื่ม ความนิยมชมชอบ อารมณ์ สภาวะสุขภาพ สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นต้นที่เป็นปัจจัยมีผลกระทบทั้งสิ้น ดังนั้น เมื่อไม่ได้ผ่านกรรมวิธีการวิเคราะห์ทางเคมี และนำเสนอข้อมูลตัวเลขที่เกี่ยวข้องเป็นหลักฐานแล้ว ผลจากการวินิจฉัยก็เป็นเพียงแค่อยู่ในบริบทของสมมุติฐานทางมโนคติ(主观臆断)เท่านั้น
ดังนั้น ไม่ว่าชาเขียว ชาอูหลง ชาผูเอ๋อร์หรือชาชนิดอื่นๆ เฉพาะด้านรสชาติและกลิ่นหอมของใบชาแล้ว ทุกวันนี้ไม่มีมาตรฐานเชิงคุณลักษณะและเชิงปริมาณ ยิ่งยังไม่มีด้านมาตรฐานของคุณภาพและมาตรฐานการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ผลงานวิจัยจำนวนมากกำลังอยู่ในขั้นตอนของการค้นหาและยืนยัน นี่เป็นสาเหตุที่ทุกวันนี้ทำไมผู้มีข้อสงสัย “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ของชาผูเอ๋อร์ยังไม่สามารถนำเสนอรายงานผลการตรวจสอบเกี่ยวกับกลุ่มสารกลิ่นหอมหรือองค์ประกอบทางเคมีอื่นๆของ “ชาผูเอ๋อร์เก่าแก่”(陈年普洱茶) สักรายการเดียว เพื่อการอ้างอิงจากรายงานนี้และข้อมูลตัวเลขที่เกี่ยวข้องแล้วสรุปได้ว่า “ไม่มีรสชาติ” และ “ไม่มีคุณค่าในการชิมดื่ม”
ที่แท้ การบ่งชี้ “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ของชาผูเอ๋อร์ มันเป็นบริบทที่เกินกว่ารสชาติและกลิ่นหอมของใบชาแล้ว มันเป็นสิ่งที่มุ่งตรงไปที่แนวความคิดทางด้านคุณภาพ เช่นกรณีการปรากฏสารอนุพันธ์จำนวนมากหลังการหมักของชาผูเอ๋อร์ สารอนุพันธ์เหล่านี้จำนวนมากเป็น “ปัจจัย” ที่มีผลต่อคนเราโดยมีสรรพคุณทางบำรงร่างกาย อย่างเช่นชาผูเอ๋อร์เก่าแก่และชาผูเอ๋อร์จากหมักกองตรวจสอบค้นพบสาร GABA ซึ่งมีคุณประโยชน์ในการลดไขมันในเลือด ซึ่ง GABA นี้ถ้าไม่ใช้วิธีวิเคราะห์ทางเคมีแล้ว ไม่สามารถที่ใช้ตาเห็นและปากชิมแล้วจะค้นพบออกมาได้ ดังนั้น ถ้าหากยังใช้วิธีการทดสอบโดยประสาทสัมผัสแบบชาเขียวหรือแบบชาชนิดอื่นๆเพื่อมาบ่งบอกคุณภาพของชาผูเอ๋อร์แล้ว เป็นเพียงการประเมินคุณภาพของชาผูเอ๋อร์ที่ “บิดเบี้ยว” แล้วทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนไปโดยธรรมชาติ
........ยังมีต่อ........
“ยิ่งเก่ายิ่งหอม” คืออะไร ? ทำไมถึงมากด้วย “เวทมนตร์” ?
“ยิ่งเก่ายิ่งหอม” คือมโนภาพที่พรรณากระบวนพัฒนาการของชาผูเอ๋อร์ เป็นสายโซ่เส้นหนึ่งในโครงสร้างทั้งหมดของชาผูเอ๋อร์ เนื้อหาแก่นแท้ของมันคือกลไกพัฒนาการ คือคุณค่าอันยิ่งใหญ่ที่ 3 ของชาผูเอ๋อร์---คุณค่าทางพัฒนาการ พูดอีกนัยหนึ่ง “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” เป็นภาษาที่ใช้สื่อถึงกลไกพัฒนาการของชาผูเอ๋อร์ “ยิ่งเก่า” คือแนวความคิดทางกาลเวลา “ยิ่งหอม” คือแนวความคิดทางด้านคุณภาพ กระบวนพัฒนาการของชาผูเอ๋อร์คือกระบวนการสุดท้ายของการผลิตชาผูเอ๋อร์ เป็นกุญแจสำคัญของการเพิ่มหรือการสร้างคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น
แต่ทว่า ปัจจุบัน “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” กลับกลายเป็น “ประเด็น” ของชาผูเอ๋อร์ที่มีข้อโต้แย้งมากที่สุด
ผู้มีข้อสงสัยบางส่วนเชื่อว่า : ชาผูเอ๋อร์ไม่ดำรงไว้ซึ่ง “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” เมื่อชาผูเอ๋อร์จัดเก็บไว้เป็นระยะเวลายาวนานแล้ว ก็จะไม่มีรสชาติแล้ว แม้ว่าในสังคมยังมี “ชาผูเอ๋อร์แก่”(老普洱茶) บางส่วนเหลืออยู่ แต่เมื่อชิมดื่มแล้วไม่มีรสชาติชาเหลืออยู่ นี่ยังถือเป็นชาอีกหรือไม่? เพราะฉะนั้น ชาผูเอ๋อร์ไม่มีคุณค่าในการเก็บเป็นระยะเวลายาวนาน การที่บุคคลบางคนในวงการชาผูเอ๋อร์กล่าวว่า ชาผูเอ๋อร์สามารถเก็บได้นาน และคุณภาพจะยิ่งเก็บยิ่งดี นั้นเป็นการหลอกลวง เพื่อให้ผู้บริโภคทำการเก็บชาเป็นจำนวนมากๆ การกล่าวเช่นนี้ที่แท้ทำให้ผู้บริโภคใช้ชาผูเอ๋อร์เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งในการลงทุน เป็นการเปลี่ยนแปลงคุณค่าของชาผูเอ๋อร์จากตัวมันเอง
ผู้มีข้อสงสัยที่ไม่เห็นด้วยกับ “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ของชาผูเอ๋อร์เกิดจากการเข้าใจความหมายของตัวหนังสือที่คลาดเคลื่อนไป พวกเขาเห็นว่า ในเมื่อคือ “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” แล้ว กลิ่นหอมก็ควรเฉกเช่นชาเขียวหรือชาอูหลง ถ้าตามความเข้าใจลักษณะนี้ ชาผูเอ๋อร์ไม่เพียงไม่มี “กลิ่นหอมใส”(清香) แบบชาเขียว ยิ่งไม่มี่ “กลิ่นหอมพิศวง”(奇香) แบบชาอูหลง ถ้าพูดเฉพาะด้านกลุ่มสารกลิ่นหอมแล้ว ชาผูเอ๋อร์จะไม่ใช่ “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” แต่เป็น “ยิ่งเก่ายิ่งอ่อน” “ชาผูเอ๋อร์แก่” จำนวนมากจะมีกลิ่นหอมที่อ่อนมาก สิ่งที่จะยืนยัน “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ของชาผูเอ๋อร์คือ “สิ่งสมมุติขึ้น”(子虚乌有) จากตัวมันเอง
ส่วนวงการชาผูเอ๋อร์เห็นว่า “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ของชาผูเอ๋อร์ ไม่สามารถตีความตามตัวหนังสือ(望文生义)แบบง่ายๆโดยไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของมัน ความเป็นจริงมันประกอบด้วยความหมาย 2 ด้านด้วยกัน : หนึ่งคือชาผูเอ๋อร์หลังผ่านพัฒนาการแล้ว ยังมีกลุ่มสารกลิ่นหอมเช่น กลิ่นการบูร(樟香) กลิ่นกล้วยไม้(兰花香) กลิ่นพุทราจีน(枣香) เป็นต้นเหลืออยู่ กลิ่นลักษณะนี้จะมีเฉพาะในชาผูเอ๋อร์ เทียบกับกลิ่นของชาเขียวและชาอูหลงจะแตกต่างกัน ไม่สามารถใช้มาตรฐานการชิมดื่มของชาเขียวและชาอูหลงไปสวมใช้และเปรียบต่างได้ สองคือ “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ของชาผูเอ๋อร์เป็นการสื่อให้เห็นมโนภาพแบบหนึ่งของกระบวนพัฒนาการชาผูเอ๋อร์ ซึ่ง “ยิ่งหอม” ไม่เพียงแค่บ่งชี้ทางด้านกลิ่นหอมเท่านั้น ยังแสดงถึงแนวความคิดทางด้านคุณภาพด้วย
ถ้าเช่นนั้น ข้อคิดเห็นไหนซึ่งโน้มน้าวได้มากกว่ากัน?
พวกเราทำการชิมดื่มชาเขียวเพื่อจำแนกความแตกต่างทั่วไปจะใช้วิธี “ทดสอบโดยประสาทสัมผัส”(感官审评) อย่างเช่นรูปลักษณะของใบชา สีน้ำชาจากการชงใบชา รูปลักษณะเป็นเส้นๆของกากชา กลิ่นและรสชาติของน้ำชา เป็นต้น การทดสอบเหล่านี้ส่วนใหญ่จะอาศัยวิธีตาดู ปากชิม บวกประสบการณ์ มันเป็นการทดสอบใบชาที่ตกทอดจากปประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นวิธีที่ดั้งเดิมที่สุด แต่ทว่า ตา ปาก จมูกของคนเราไม่ใช่เครื่องมือวิเคราะห์ทางเคมี ยากที่จะค้นพบและแยกแยะองค์ประกอบที่มีกว่าหลายร้อยชนิดและปริมาณมากน้อยในใบชาได้ ทำให้กระบวนการจำแนกความแตกต่างเกิดความผิดพลาดได้ บางครั้งความผิดพลาดนี้จะแตกต่างกันมาก เป็นเพราะว่าอวัยวะประสาทสัมผัสของคนเรา นอกจากปัจจัยทางด้านความรู้สึกของการมองเห็น การดมกลิ่น การได้ยิน การสัมผัสและการรับรู้รสแล้ว ยังมีความแตกต่างทางสภาพร่างกายของแต่ละคน ขณะเดียวกัน อุปนิสัยในการดื่ม ความนิยมชมชอบ อารมณ์ สภาวะสุขภาพ สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นต้นที่เป็นปัจจัยมีผลกระทบทั้งสิ้น ดังนั้น เมื่อไม่ได้ผ่านกรรมวิธีการวิเคราะห์ทางเคมี และนำเสนอข้อมูลตัวเลขที่เกี่ยวข้องเป็นหลักฐานแล้ว ผลจากการวินิจฉัยก็เป็นเพียงแค่อยู่ในบริบทของสมมุติฐานทางมโนคติ(主观臆断)เท่านั้น
ดังนั้น ไม่ว่าชาเขียว ชาอูหลง ชาผูเอ๋อร์หรือชาชนิดอื่นๆ เฉพาะด้านรสชาติและกลิ่นหอมของใบชาแล้ว ทุกวันนี้ไม่มีมาตรฐานเชิงคุณลักษณะและเชิงปริมาณ ยิ่งยังไม่มีด้านมาตรฐานของคุณภาพและมาตรฐานการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ผลงานวิจัยจำนวนมากกำลังอยู่ในขั้นตอนของการค้นหาและยืนยัน นี่เป็นสาเหตุที่ทุกวันนี้ทำไมผู้มีข้อสงสัย “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ของชาผูเอ๋อร์ยังไม่สามารถนำเสนอรายงานผลการตรวจสอบเกี่ยวกับกลุ่มสารกลิ่นหอมหรือองค์ประกอบทางเคมีอื่นๆของ “ชาผูเอ๋อร์เก่าแก่”(陈年普洱茶) สักรายการเดียว เพื่อการอ้างอิงจากรายงานนี้และข้อมูลตัวเลขที่เกี่ยวข้องแล้วสรุปได้ว่า “ไม่มีรสชาติ” และ “ไม่มีคุณค่าในการชิมดื่ม”
ที่แท้ การบ่งชี้ “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ของชาผูเอ๋อร์ มันเป็นบริบทที่เกินกว่ารสชาติและกลิ่นหอมของใบชาแล้ว มันเป็นสิ่งที่มุ่งตรงไปที่แนวความคิดทางด้านคุณภาพ เช่นกรณีการปรากฏสารอนุพันธ์จำนวนมากหลังการหมักของชาผูเอ๋อร์ สารอนุพันธ์เหล่านี้จำนวนมากเป็น “ปัจจัย” ที่มีผลต่อคนเราโดยมีสรรพคุณทางบำรงร่างกาย อย่างเช่นชาผูเอ๋อร์เก่าแก่และชาผูเอ๋อร์จากหมักกองตรวจสอบค้นพบสาร GABA ซึ่งมีคุณประโยชน์ในการลดไขมันในเลือด ซึ่ง GABA นี้ถ้าไม่ใช้วิธีวิเคราะห์ทางเคมีแล้ว ไม่สามารถที่ใช้ตาเห็นและปากชิมแล้วจะค้นพบออกมาได้ ดังนั้น ถ้าหากยังใช้วิธีการทดสอบโดยประสาทสัมผัสแบบชาเขียวหรือแบบชาชนิดอื่นๆเพื่อมาบ่งบอกคุณภาพของชาผูเอ๋อร์แล้ว เป็นเพียงการประเมินคุณภาพของชาผูเอ๋อร์ที่ “บิดเบี้ยว” แล้วทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนไปโดยธรรมชาติ
........ยังมีต่อ........
(แปล-เรียบเรียง-เขียน จากบทความ 《4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์》 --- คุณค่าที่ 3 : “คุณค่าทางพัฒนาการ”...เขียนโดย
เฉินเจี๋ย)
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
คุณค่าทางพัฒนาการ (1)
คุณค่าทางพัฒนาการ (3)
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
คุณค่าทางพัฒนาการ (1)
คุณค่าทางพัฒนาการ (3)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น