วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คุณค่าที่ 3 : คุณค่าทางพัฒนาการ (5)

คุณค่าที่ 3 ใน 4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์ : 
คุณค่าทางพัฒนาการ (5)
普洱茶的四大价值之三 : 陈化价值 (五)




        ๒. ความต้องการด้านสภาพแวดล้อมสำหรับกระบวนพัฒนาการของชาผูเอ๋อร์

        (1) ความต้องการที่ตั้งทางภูมิศาสตร์---2 ลักษณะพิเศษที่ต้องมีพร้อมของสภาพแวดล้อมใหญ่

        ในขณะที่พวกเราทำการศึกษาชาผูเอ๋อร์ได้พบเห็นว่า “ชาผูเอ๋อร์เก่าแก่” ที่อายุ 20 ปีขึ้นไปที่มีอยู่ในตลาด เกือบทั้งหมดมาจากกว่างตง ฮ่องกง ใต้หวัน ทิเบตถือเป็นอีกพื้นที่หลักที่บริโภคชาผูเอ๋อร์ก็ปรากฏมี “ชาเก่า” เช่นกัน แต่เขตพื้นที่ผลิตชาผูเอ๋อร์---หยินหนาน “ชาเก่า” บางส่วนที่ส่วนใหญ่ “ไหลย้อนกลับ” จากกว่างตง ฮ่องกง ใต้หวัน นี้เป็นเพราะสาเหตุอันใด?

        เรื่องราวหนึ่งเล่าว่ามันเกี่ยวข้องกับวิถีแห่งการดื่มชา ตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันชาวทิเบตยังยึดธรรมเนียมใช้วิธีการต้มชา โดยเติมเกลือ ขิง นม เป็นต้น คือเป็นชาที่มีคุณลักษณะปรุงแต่งรสแล้ว ชาผูเอ่อร์ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของชาวทิเบตเฉกเช่นเกลือ ที่เป็นเครื่องปรุงอาหารผสมเติมลงในชานม ไม่มีธรรมเนียมในการชงดื่มชาผูเอ๋อร์ตัวเดียวโดดๆ และไม่จำเป็นที่ต้องมาตระหนักในการเก็บชาผูเอ๋อร์

        อีกเรื่องราวหนึ่งเล่าว่าแม้หยินหนานเป็นแหล่งผลิตชาผูเอ๋อร์ แต่เขตพื้นที่บริโภคหลักอยู่ที่กว่างตง ฮ่องกง ใต้หวัน เนื่องจากคนพื้นที่หยินหนานไม่ได้ดื่มชาผูเอ๋อร์มาเป็นระยะเวลายาวนานมากแล้ว อย่างน้อยตั้งแต่ปลายศตวรรษที่แล้ว(ปี 1949)ที่ประเทศจีนใหม่(จีนคอมมิวนิสต์)ก่อตั้งขึ้นจนถึงต้นศตวรรษนี้ คนพื้นที่หยินหนานดื่มชาเขียวเป็นหลัก แต่เมื่อเข้าสู่ต้นศตวรรษที่ 21 เป็นไปตาม “กระแส” ของชาผุเอ๋อร์ ชาผูเอ๋อร์จึงค่อยๆเข้าไปในทัศนะพิสัยของคนดื่มชา ฉะนั้น หยินหนานก็ไม่มีธรรมเนียมในการเก็บชาผูเอ๋อร์ และบางคนมีความคิดเห็นว่าสภาพแวดล้อมทางการค้าและหัวการค้าและเล่ห์เหลี่ยมของคนหยินหนานสู้พ่อค้าคนกว่างตงไม่ได้ จึงมองข้ามช่องว่างมูลค่าเพิ่มของชาผูเอ๋อร์ ดังนั้นคนเก็บชาจึงมีน้อย

        เรื่องราวเหล่านี้อาจเป็นจริงตามนั้น แต่อาจมีอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญกว่า---ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์(地理位置)

        ลำดับ 1 : ชาผูเอ๋อร์เป็นผลิตภัณฑ์จากการหมัก ขอให้เป็นการหมัก ความต้องการด้านอุณหภูมิและความชื้นเป็นสิ่งจำเป็น ความเป็นจริงความต้องการนี้ก็คือ “ร้อนสูงชื้นสูง”(高温高湿) เป็นหลัก จุลินทรีย์และเอนไซม์ที่มีเฉพาะในชาผูเอ๋อร์ จะต้องอยู่ในสภาวะ “ร้อนสูงชื้นสูง” จึงจะทำให้เกิดปฏิกิริยาจากการเร่งของเอนไซม์(ECR) ECR นี้จะมีช่วงระหว่างของ “อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุด”(最适温度) อุณหภูมิตั้งต้นที่ 15ºC ทุกๆ 10ºC ที่เพิ่มขึ้น ECR ก็จะเร็วขึ้นตาม แต่ถ้าเกินกว่า 50ºC โปรตีนของเอนไซม์จะเปลี่ยนคุณลักษณะไป อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะช้าลง ดังนั้น ”อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุด” ของกระบวนพัฒนาการชาผูเอ๋อร์ควรอยู่ระหว่าง 15ºC ถึง 50ºC อุณหภูมิทั้งปีของกว่างตง ฮ่องกง ใต้หวัน ทั่วไปอยู่ที่ 20ºC ขึ้นไป ส่วนฤดูใบไม้ผลิฤดูใบไม้ร่วงส่วนใหญ่ที่ 30ºC ขึ้นไป ยิ่งเป็นฤดูร้อนจะอยู่ที่ประมาณ 40ºC อุณหภูมิกลางวันกลางคืนไม่แตกต่างกันมาก พื้นฐานเป็น “อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุด” ที่ ECR ต้องการ แต่หยินหนานปีหนึ่ง 4 ฤดู ระยะเวลาที่ “ร้อนสูงชื้นสูง” จะสั้น และอุณหภูมิในฤดูหนาวจะต่ำกว่า 10ºC อุณหภูมิกลางวันกลางคืนแตกต่างกันมาก นี้เป็นเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ชาผูเอ๋อร์เหมือนกัน เปรียบเทียบระหว่างเก็บที่กว่างตง ฮ่องกง ใต้หวัน กับเก็บที่หยินหนาน ผลของพัฒนาการจะไม่เหมือนกัน พัฒนาการที่แรกจะเร็วกว่าที่หลัง

        ลำดับ 2 : การหมักของชาผูเอ๋อร์และ “ความชื้น” ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ความหมายโดยทั่วไปคือความแห้งแล้งจะมีผลต่อการเจริญพันธุ์ของจุลินทรย์ ”ความชื้นที่เหมาะสมที่สุด”(最适湿度) ของกระบวนพัฒนาการชาผูเอ๋อร์จะอยู่ระหว่าง 55% ถึง 85% กว่างตง ฮ่องกง ใต้หวัน นอกจากฤดูหนาวแล้ว ความชื้นทั่วไปอยู่ที่ 70% ขึ้นไป ความชื้นในฤดูหนาวก็อยู่ที่ 55% ขึ้นไป แต่หยินหนานทั้งปีส่วนใหญ่อยู่ที่ 70% ลงมา ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวความชื้นจะต่ำกว่า 50% ทำให้ผลจากพัฒนาการของชาผูเอ่อร์ต่ำกว่าพื้นที่กว่างตง ฮ่องกง ใต้หวัน ดังนั้น ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์---ข้อได้เปรียบของสภาพแวดล้อมใหญ่เป็นเหตุให้กว่างตง ฮ่องกง ใต้หวัน เป็นพื้นที่ตัวเลือกต้นๆของการหมักภายหลังของชาผูเอ๋อร์

หมายเหตุ : ความจริงประเทศย่านอาเซี่ยนเช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย เป็นต้น มีที่ตั้งทางภูมิศาสาตร์ที่มีข้อได้เปรียบทางสภาพแวดล้อมสำหรับกระบวนการหมักภายหลังของชาผูเอ๋อร์ที่เหมาะสมกว่าประเทศทั้งหมดที่บทความกล่าวมาข้างต้น อย่างเช่นประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงมีอากาศร้อนชื้นปกคลุมเกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีมีค่าประมาณ 27ºC โดยในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิสูงสุดปกติจะสูงถึงเกือบ 40ºC มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 73-75% และจะลดลงเหลือ 64-69% ในช่วงฤดูร้อน ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีสภาพแวดล้อมที่ “ร้อนสูงชื้นสูง” ที่เหมาะสมสำหรับขบวนพัฒนาการของชาผูเอ๋อร์ โดยทั่วไป แผ่นชาผูเอ๋อร์ที่เก็บในประเทศไทยจะมีอัตราพัฒนาการเร็วกว่าเก็บที่หยินหนานน่าจะประมาณ 2-3 เท่า

........ยังมีต่อ........


(แปล-เรียบเรียง-เขียน จากบทความ 4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์ --- คุณค่าที่ 3 : “คุณค่าทางพัฒนาการ”...เขียนโดย เฉินเจี๋ย)

โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/


คุณค่าทางพัฒนาการ (4)
คุณค่าทางพัฒนาการ (6)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น