วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คุณค่าที่ 3 : คุณค่าทางพัฒนาการ (1)

คุณค่าที่ 3 ใน 4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์ : 
คุณค่าทางพัฒนาการ (1)
普洱茶的四大价值之三 : 陈化价值 (一)


หมายเหตุ : คุณภาพชีวิตของคนเราต้องยกระดับให้ดีขึ้น ทำนองเดียวกัน คุณภาพของชาผูเอ๋อร์ก็ต้องยกระดับให้สูงขึ้น บทความนี้ “คุณค่าทางพัฒนาการ” ทางผู้เขียนเฉินเจี๋ยยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ได้อธิบายรายละเอียดเชิงลึกถึงวิธีการยกระดับคุณภาพของชาผูเอ๋อร์โดยกลไกพัฒนาการของชาผูเอ๋อร์ หรือคือกระบวนการสร้างคุณภาพใหม่ คุณภาพที่เป็นไปแบบลำดับขั้น ซึ่งกระบวนพัฒนาการชาผูเอ๋อร์ส่วนใหญ่จะกระทำการเก็บชานอกหยินหนานแหล่งผลิตชา ในเขตพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมกว่า กระบวนการผลิตชาผูเอ๋อร์ขั้นตอนสุดท้ายส่วนใหญ่จึงเสร็จสมบูรณ์ที่ร้านค้าจำหน่ายและผู้บริโภค ทำให้เกิดเป็นสังคมการผลิตชาผูเอ๋อร์ประกอบด้วยองคาพยพหลายๆภาคส่วนที่ต่างมีส่วนร่วมช่วยสร้างสรรค์ชาผูเอ๋อร์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ชาที่มีวัฒนธรรมและระบบคุณค่าที่ยิ่งใหญ่

        เช่นกันบทความนี้มีความยาวพอสมควร ทางผู้แปลจึงได้จัดแบ่งออกเป็น 7 ตอน :
        • ตอนที่ 1     : บทนำ 
        • ตอนที่ 2     : “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” คืออะไร?  
        • ตอนที่ 3-4 : ทำไมชาผูเอ๋อร์ต้องมีขบวนพัฒนาการ 
        • ตอนที่ 5-6 : ความต้องการด้านสภาพแวดล้อมฯ 
        • ตอนที่ 7     : “ประชาคมนักเก็บชา”ฯ  




        ชาผูเอ๋อร์มีปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดมาก ก็คือด้านหลังของชาผูเอ๋อร์จะมี “ประชาคมนักเก็บชา”(存茶群体) ที่มหึมา ประชาคมกลุ่มนี้ประกอบด้วยธุรกิจผลิตชา ผู้แทนจำหน่ายและผู้บริโภค ท่ามกลาง “ประชาคมนักเก็บชา” กลุ่มนี้ ผู้แทนจำหน่ายและผู้บริโภคจะมีสัดส่วนมากที่สุดเกิน 90%

        “เก็บชา” แรกเริ่มที่หยินหนาน เนื่องจากโบราณกาลในหยินหนานก็มีตำนานเล่าว่าช “รุ่นปู่ทำชา รุ่นหลานขายชา”(爷爷制茶 孙子卖茶) หลังจากนั้น ยุคที่ผ่านมาและปัจจุบันของประเทศจีน พื้นที่หลักของ “เก็บชา” ได้เปลี่ยนย้ายไปอยู่ที่ฮ่องกง แล้วขยายต่อไปที่ใต้หวัน ตั้งแต่ทศวรรษที่ 80 ในศตวรรษที่แล้วกว่างตง(广东)ได้ก่อตัวเป็นพื้นที่หลักของ “เก็บชา” กลายเป็นพื้นที่การกระจายชาผูเอ๋อร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อเข้าสู่ต้นศตวรรษที่ 21 โดยมีกว่างตงเป็นศูนย์กลาง “ประชาคมนักเก็บชา” ได้ขยายเพิ่มเป็นทวีคูณ ก่อเป็นโครงข่าย “ขึ้นเหนือล่องใต้”(南下北上) อย่างรวดเร็ว

        “ล่องใต้” ก็คือประชาคมของ “เก็บชา” ได้ขยายไปที่สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย เป็นต้นเป็นประเทศทางอาเซี่ยน “ขึ้นเหนือ” ก็คือจากกว่างโจว(广州)แพร่ผ่านไปทางเมืองหลวงของมณฑลต่างๆทางเหนือ กองทัพ “เก็บชา” ได้ขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตลอดเส้นทาง จำนวนคนผู้เข้ามาใหม่ไม่สามารถประเมินได้

        ปรากฏการณ์ “เก็บชา” ของชาผูเอ๋อร์ถือเป็นทัศนียภาพที่สวยงามมากและมีเฉพาะในวงการชาของประเทศจีน แต่มีผู้คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าปรากฏการณ์เช่นนี้ของชาผูเอ๋อร์ เป็นเพราะผลจากการที่พ่อค้านักธุรกิจปั่นขึ้นมา ผลสำเร็จเช่นนี้ที่แท้เป็นภาพลวงตาทางการค้า ซึ่งก็คือปรากฏการณ์ฟองสบู่ ทันทีที่ฟองสบู่แตก ไม่เพียงแค่เป็นการพังทลายของวงการชาผูเอ๋อร์ ยังทำให้กองทัพ “เก็บชา” กลายเป็น “ผู้ประสบหายนะทุกหย่อมหญ้า”(哀鸿遍野) แล้ว “หายเข้ากลีบเมฆ”(烟消云散)

        แต่ความเป็นจริงเป็นไปตามนี้หรือไม่? คำตอบคือ...ไม่

        อย่างกรณีของใต้หวันและฮ่องกง เมื่อทศวรรษที่ 90 ในศตวรรษที่แล้ว ชาผูเอ๋อร์สองพื้นที่นี้ต่างก็ประสบปัญหาราคา “ขึ้นแรงลงแรง” แต่เมื่อหลังจากลมพายุได้สงบลง กองทัพ “เก็บชา” ไม่ได้ลดลงกลับเพิ่มขึ้นไม่น้อย ปี 2007 สภาวการณ์ชาผูเอ๋อร์ในประเทศจีนก็ประสบ “รถไฟเหาะ”(过山车) มาครั้งหนึ่ง หลังจากราคาขึ้นแรงลงแรงแล้ว ตลาดชาผูเอ๋อร์ได้รับ “ความเสียหายอย่างหนัก” แต่ไม่ทำให้กองทัพ “เก็บชา” เกิด “แตกกระจัดกระจาย”(分崩离析) ปัจจุบันเขตพื้นที่จำนวนมากในกว่างตงที่เป็น “เขตภัยพิบัติ” ของชาผูเอ๋อร์ เราเพียงแต่รู้สึกได้ว่าตลาดอยู่ในสภาพสิ้นหวังและโศกเศร้า แต่ไม่มีร่องรอยของการพังทลายของกองทัพ “เก็บชา” ตรงกันข้าม กลับมีปรากฏการณ์ที่ประหลาด 2 เหตุการณ์ที่ได้รับความสนใจจากผู้คน : หนึ่งคือผลิตภัณฑ์ชาผูเอ๋อร์ชั้นดีบางส่วนที่ผลิตในศตวรรษที่แล้ว ราคาไม่ได้ลดลง กลับมีแนวโน้มที่ค่อยๆปรับสูงขึ้น อีกหนึ่งคือกลุ่มคนที่มีเงินสดอยู่ในมือ จะติดตามราคาที่ลดลงของชาผูเอ๋อร์อย่างละเอียด เพื่อหาโอกาสและจังหวะเหมาะๆทำการ “ช้อน” ซื้อเป็นครั้งๆ กลายเป็นสมาชิกใหม่ของกองทัพ “เก็บชา” หรือพูดอีกนัยหนึ่ง ราคาที่ตกลงมาแรงของชาผูเอ๋อร์ไม่ทำให้เส้นทาง “เก็บชา” จบสิ้นลง เพียงแต่เกิดการชะลอตัวลงเท่านั้น

        เพราะเหตุอันใดชาผูเอ๋อร์จึงเกิดปรากฏการณ์ “เก็บชา” ที่เป็นเฉพาะ? คำตอบง่ายมาก---เพราะชาผูเอ๋อร์มีคุณลักษณะพิเศษที่ดำรงไว้ซึ่ง “ยิ่งเก่ายิ่งหอม”(越陈越香)…

........ยังมีต่อ........


(แปล-เรียบเรียง-เขียน จากบทความ 4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์ --- คุณค่าที่ 3 : “คุณค่าทางพัฒนาการ”...เขียนโดย เฉินเจี๋ย)

โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/


คุณค่าทางกรรมวิธีการผลิตที่พิเศษเฉพาะ (8)
คุณค่าทางพัฒนาการ (2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น