คุณค่าที่ 3 ใน 4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์ :
คุณค่าทางพัฒนาการ (7)
普洱茶的四大价值之三 : 陈化价值 (七)
คุณค่าทางพัฒนาการ (7)
普洱茶的四大价值之三 : 陈化价值 (七)
๓. “ประชาคมนักเก็บชา” คือคุณค่าการมีส่วนร่วมในกระบวนพัฒนาการชาผูเอ๋อร์
กระบวนพัฒนาการชาผูเอ๋อร์ส่วนใหญ่จบสิ้นที่ “ประชาคมนักเก็บชา” กระบวนการ “เก็บชา” ไม่ใช่เพียงแค่นำสินค้าโยนเข้าในคลังเก็บสินค้าแบบง่ายๆแล้วทุกอย่างก็จะจบลงด้วยดี มันเป็นกระบวนการที่เต็มไปด้วยและแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของ “ประชาคมนักเก็บชา”
(1) “ประชาคมนักเก็บชา” เป็นองคาพยพหนึ่งในสังคมการผลิตของชาผูเอ๋อร์
การเปลี่ยนแปลงของคุณภาพหลังจากผ่านกระบวนพัฒนาการของชาผูเอ๋อร์ การอนุมานชาผูเอ๋อร์จะมีปัญหาหรือไม่จากการผลิตก่อนหน้านี้เป็นงานลำดับแรกของ “ประชาคมนักเก็บชา” ตามหลักการควบคุมคุณภาพสมัยใหม่ ขั้นตอนต่อไปจะทำการตรวจเช็คคุณภาพจากขั้นตอนก่อนหน้านี้ เนื่องจากไม่ใช่ว่าชาผูเอ๋อร์ทั้งหมดหลังผ่านพัฒนาการแล้ว คุณภาพจะแปรเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้นเสมอไป ปัญหาที่ปรากฏในกระบวนการนี้ทั่วๆไปเป็นการเปิดเผยตำหนิหรือปัญหาที่ดำรงมาจากการผลิตก่อนหน้านี้ที่สังเกตได้ง่ายที่สุด ดังนั้น กระบวนพัฒนาการของชาผูเอ๋อร์และการผลิตก่อนหน้านี้ไม่สามารถตัดขาดจากกันแล้วไม่เกี่ยวข้องกันได้ เป็นความต่อเนื่องจากขั้นตอนการผลิตของชาผูเอ๋อร์ และเป็นความต่อเนื่องทางคุณภาพ ฉะนั้น พวกเราสามารถที่จะกำหนดได้ว่า ”ประชาคมนักเก็บชา” เป็นองคาพยพหนึ่งของสังคมการผลิตชาผูเอ๋อร์ นี้คงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้คนส่วนใหญ่ใน “ประชาคมนักเก็บชา” จึงมีความเข้าใจต่อขุนเขาชาของหยินหนาน วัตถุดิบจากพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งวิธีการตากเขียว เนื้อผสมและรูปแบบการอัดขึ้นรูป เป็นต้น
(2) การปรากฏของ “ประชาคมนักเก็บชา” เป็นการเติมเต็มในช่องว่างของการผลิตชาผูเอ๋อร์แบบมืออาชีพ
ถ้าหากยังคงไว้ซึ่ง “รุ่นปู่ทำชา รุ่นหลานขายชา” ตามธรรมเนียมประเพณีเก่าแก่ของหยินหนานแล้ว กำลังการผลิตจะต้องมีจำกัด ยากที่จะเป็นขนาดเชิงอุตสาหกรรมได้ เป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงต่อการขยายและส่งเสริมชาผูเอ๋อร์ให้แพร่หลาย การปรากฏของ “ประชาคมนักเก็บชา” ทำให้ชาผูเอ๋อร์เดินบนเส้นทางการแบ่งงานกันทำแบบมืออาชีพ มันไม่เพียงเป็นการเพิ่มขนาดเชิงอุตสาหกรรมของชาผูเอ๋อร์ มีศักยภาพที่จะขยายอย่างแข็งแกร่งแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่าคือ อิทธิพลต่อการยกระดับคุณภาพของชาผูเอ๋อร์อย่างเหนือความคาดหมาย ทั้งหลายทั้งปวง ภูมิปัญญาของ “ชนกลุ่มใหญ่” ย่อมเหนือกว่าพลังของ “ชนกลุ่มน้อย” อย่างมากมาย
(3) ผู้แทนจำหน่าย นักวิจัย นักชิมประเมินที่ดีเด่นของชาผูเอ๋อร์เกือบล้วนมาจากสังคมนี้
กระบวนพัฒนาการของชาผูเอ๋อร์เป็นห่วงโซ่ข้อสุดท้ายของขั้นตอนการผลิตทั้งหมดของชาผูเอ๋อร์ และเป็นห่วงโซ่ที่สำคัญที่สุด งานการก่อนหน้านี้แม้จะทำมาดี แต่กระบวนพัฒนาการมีความผิดพลาดขึ้นมา ก็จะทำให้คุณภาพของชาผูเอ๋อร์ลดลงมาได้ นี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ “ประชาคมนักเก็บชา” จะต้องมีความรู้ที่พอสมควร ความจริงได้ชี้ชัดแล้วว่า ผู้แทนจำหน่าย นักวิจัย นักชิมประเมินที่ดีเด่นจำนวนมากของชาผูเอ๋อร์มาจากสังคมนี้ พวกเขาอยู่ใกล้ชิดผู้บริโภคมากที่สุด และเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด ยิ่งเป็นกลุ่มคนที่พูดแล้วมีน้ำหนักมากที่สุด ”ประชาคมนักเก็บชา” ปรากฏมีนักวิจัยชาผูเอ๋อร์และบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งภายในและต่างประเทศจำนวนมากล้วนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป พวกเขาบางคนดำรงชีพอยู่ที่หยินหนาน แต่ส่วนใหญ่จะอยู่นอกหยินหนาน ทำให้ชาผูเอ๋อร์มีอีกมุมหนึ่งของ “ภาพตรึงตราใจ”
ตั้งแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบัน นักวิจัยชาผูเอ๋อร์ที่ดีเด่นจำนวนมากล้วนอยู่นอกหยินหนาน ในสมัยราชวงคศ์ชิง เช่น หย่วนฝู(阮福 : ผู้เขียน《บันทึกชาผูเอ๋อร์》) จ้าวเสหมิ่น(赵学敏 : ผู้เขียน 《A Supplement to the Compendium of Materia Medica》) และปัจจุบันนักศึกษาชาผูเอ๋อร์ผู้ยิ่งใหญ่ ชาวใต้หวันเช่น เติ้งสือไห่(邓时海) สือคุนมู่(石昆牧) ชาวฮ่องกงคือ บ๋ายสุ่ยชิง(白水清) คนกว่างตงคือ หลินหยวงคุน(林荣坤) เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นคนนอกหยินหนาน และล้วนเป็นผู้มีชื่อเสียงอันโด่งดังใน “ประชาคมนักเก็บชา”
(4) การเกิด “กระแสชาผูเอ๋อร์” ทุกครั้ง ล้วนแพร่จากภายนอกเข้าสู่ภายในมณฑลหยินหนาน
พลังแห่งการชี้นำทั่วไปเกิดจาก “ประชาคมนักเก็บชา” เป็นใจกลาง พวกเขาไม่ใช่ “นักปั่น” ทั่วๆไป แต่เป็นนักศึกษา ผู้สร้างสรรค์และผู้ผลักดัน พวกเขาทราบดีว่า เป็นไปตามที่วิทยาสาสตร์และเทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวหน้า คุณภาพชีวิตของคนเราได้ยกระดับดีขึ้น ได้ให้ความสนใจมากขึ้นทางเครื่องดื่ม---โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารจากการหมัก การใช้จ่ายก็เพื่อความมั่นใจทางเล็งเห็นการณ์ไกล ก่อให้เกิดแนวคิดเชิงจิตวิสัยโดยรรมชาติ---การนำเสนอเครื่องดื่มทีมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าให้แก่ผู้บริโภค คือคุณค่าทางหลักปรัชญาที่เป็นแก่นแท้ของ “ประชาคมนักเก็บชา”
แน่นอน คุณค่าของแก่นสารนี้ สิ่งที่มีความดีความชอบมากที่สุดก็ต้องเป็นชาผูเอ๋อร์ ถ้าหากไม่เป็นเพราะระบบทางคุณค่าที่มีเฉพาะในชาผูเอ๋อร์ และช่องว่างที่เหลือเตรียมไว้ให้สร้างสรรค์ และถ้าหากไม่เป็นเพราะใจกว้างเหมือนแม่น้ำ(海纳百川)ของคนหยินหนาน การไม่ยืนอยู่กับที่เพื่อจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า(固步自封) มือไม่ได้กำชาผูเอ๋อร์จนแน่นไม่ยอมปล่อย มิฉะนั้น การจะเกิด “ประชาคมนักเก็บชา” ยากยิ่งกว่าขึ้นสวรรค์ ดังนั้น ในบทความ《4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์---คุณค่าทางภูมิศาสตร์》ผู้เขียนได้สะท้อนให้เห็นว่า ชาผูเอ๋อร์เป็น “วัฒนธรรมนานาชาติ”(海洋文化) มันกำเนิดจากหยินหนาน หยั่งรากลงลึกที่กว่างตง ฮ่องกง ใต้หวัน มีฉากหลังของวัฒนธรรม เช่นกัน การปรากฏของ “ประชาคมนักเก็บชา” ไม่ใช่เป็นเหตุบังเอิญ เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดตามวัฒนธรรมผูเอ๋อร์ที่ยิ่งใหญ่
สุดท้าย สามารถที่จะกล่าวสรุปได้ว่า การสร้างสรรค์คุณภาพของชาผูเอ๋อร์เป็นผลผลิตจากความร่วมมือข้ามมณฑล ไม่ใช่สิ่งที่หยินหนานมณฑลเดียวสามารถจะกระทำให้สำเร็จเพียงลำพังได้ จากความหมายนี้ ชาผูเอ๋อร์คือผลึกทางภูมิปัญญาของ สังคมใหญ่” ที่มาเกาะติดกันแน่น...
........จบบริบูรณ์........
หมายเหตุ : บทความแปล “คุณค่าที่ 3 : คุณค่าทางพัฒนาการ” ได้จบสิ้นลงแล้ว นั่นแสดงว่าบทความซีรีย์《4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์》ก็ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ด้วย 4 บทความฉะนี้ ทางผู้แปลได้ทำการแปล “คุณค่าที่ 4 : คุณค่าขององค์ประกอบที่มีสรรพคุณและกลไกทางยา” โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน :
• ตอนที่ 1 : ชาผูเอ๋อร์เป็นเครื่องดื่มที่ครบครันด้วย “สารัตถประโยชขน์ที่ 3” โดยได้โพสต์เมื่อ 13 ก.พ. 58
• ตอนที่ 2 : คุณประโยชน์ทางตรงของชาผูเอ๋อร์ โดยได้โพสต์เมื่อ 20 ก.พ. 58
• ตอนที่ 3 : สรรพคุณซ่อนเร้นของชาผูเอ๋อร์ โดยได้โพสต์เมื่อ 24 ก.พ. 58
ผู้แปลได้ข้ามลำดับไปแปลคุณค่าสุดท้ายของชาผูเอ๋อร์ก่อน ซึ่งถือเป็น “ผลลัพธ์” จากปฐมเหตุของ 3 คุณค่าแรกที่ถือเป็น “กระบวนการ” ซึ่งก็คือแปลจากผลไปหาเหตุ เพื่อการ “เข้าใจและเข้าถึง : 知其然还要知其所以然 : Know How and Know Why”
เพื่อเป็นการสรุปรวบยอด《4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์》และเพื่อเป็นการให้เกียรติและแสดงความคารวะและขอบคุณต่อผู้เขียน : เฉินเจี๋ย และ คิดอย่างไร...เขียนตามนั้น เป็นความรู้สึกที่สัมผัสได้ของผู้แปลที่ทำการแปลบทความฯชุดนี้ ทางผู้แปลจึงได้เขียนบทความตอนพิเศษ : “ปัจฉิมลิขิตจากผู้แปล《4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์》” เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ตอน...สนใจติดตามอ่านได้ครับ
กระบวนพัฒนาการชาผูเอ๋อร์ส่วนใหญ่จบสิ้นที่ “ประชาคมนักเก็บชา” กระบวนการ “เก็บชา” ไม่ใช่เพียงแค่นำสินค้าโยนเข้าในคลังเก็บสินค้าแบบง่ายๆแล้วทุกอย่างก็จะจบลงด้วยดี มันเป็นกระบวนการที่เต็มไปด้วยและแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของ “ประชาคมนักเก็บชา”
(1) “ประชาคมนักเก็บชา” เป็นองคาพยพหนึ่งในสังคมการผลิตของชาผูเอ๋อร์
การเปลี่ยนแปลงของคุณภาพหลังจากผ่านกระบวนพัฒนาการของชาผูเอ๋อร์ การอนุมานชาผูเอ๋อร์จะมีปัญหาหรือไม่จากการผลิตก่อนหน้านี้เป็นงานลำดับแรกของ “ประชาคมนักเก็บชา” ตามหลักการควบคุมคุณภาพสมัยใหม่ ขั้นตอนต่อไปจะทำการตรวจเช็คคุณภาพจากขั้นตอนก่อนหน้านี้ เนื่องจากไม่ใช่ว่าชาผูเอ๋อร์ทั้งหมดหลังผ่านพัฒนาการแล้ว คุณภาพจะแปรเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้นเสมอไป ปัญหาที่ปรากฏในกระบวนการนี้ทั่วๆไปเป็นการเปิดเผยตำหนิหรือปัญหาที่ดำรงมาจากการผลิตก่อนหน้านี้ที่สังเกตได้ง่ายที่สุด ดังนั้น กระบวนพัฒนาการของชาผูเอ๋อร์และการผลิตก่อนหน้านี้ไม่สามารถตัดขาดจากกันแล้วไม่เกี่ยวข้องกันได้ เป็นความต่อเนื่องจากขั้นตอนการผลิตของชาผูเอ๋อร์ และเป็นความต่อเนื่องทางคุณภาพ ฉะนั้น พวกเราสามารถที่จะกำหนดได้ว่า ”ประชาคมนักเก็บชา” เป็นองคาพยพหนึ่งของสังคมการผลิตชาผูเอ๋อร์ นี้คงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้คนส่วนใหญ่ใน “ประชาคมนักเก็บชา” จึงมีความเข้าใจต่อขุนเขาชาของหยินหนาน วัตถุดิบจากพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งวิธีการตากเขียว เนื้อผสมและรูปแบบการอัดขึ้นรูป เป็นต้น
(2) การปรากฏของ “ประชาคมนักเก็บชา” เป็นการเติมเต็มในช่องว่างของการผลิตชาผูเอ๋อร์แบบมืออาชีพ
ถ้าหากยังคงไว้ซึ่ง “รุ่นปู่ทำชา รุ่นหลานขายชา” ตามธรรมเนียมประเพณีเก่าแก่ของหยินหนานแล้ว กำลังการผลิตจะต้องมีจำกัด ยากที่จะเป็นขนาดเชิงอุตสาหกรรมได้ เป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงต่อการขยายและส่งเสริมชาผูเอ๋อร์ให้แพร่หลาย การปรากฏของ “ประชาคมนักเก็บชา” ทำให้ชาผูเอ๋อร์เดินบนเส้นทางการแบ่งงานกันทำแบบมืออาชีพ มันไม่เพียงเป็นการเพิ่มขนาดเชิงอุตสาหกรรมของชาผูเอ๋อร์ มีศักยภาพที่จะขยายอย่างแข็งแกร่งแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่าคือ อิทธิพลต่อการยกระดับคุณภาพของชาผูเอ๋อร์อย่างเหนือความคาดหมาย ทั้งหลายทั้งปวง ภูมิปัญญาของ “ชนกลุ่มใหญ่” ย่อมเหนือกว่าพลังของ “ชนกลุ่มน้อย” อย่างมากมาย
(3) ผู้แทนจำหน่าย นักวิจัย นักชิมประเมินที่ดีเด่นของชาผูเอ๋อร์เกือบล้วนมาจากสังคมนี้
กระบวนพัฒนาการของชาผูเอ๋อร์เป็นห่วงโซ่ข้อสุดท้ายของขั้นตอนการผลิตทั้งหมดของชาผูเอ๋อร์ และเป็นห่วงโซ่ที่สำคัญที่สุด งานการก่อนหน้านี้แม้จะทำมาดี แต่กระบวนพัฒนาการมีความผิดพลาดขึ้นมา ก็จะทำให้คุณภาพของชาผูเอ๋อร์ลดลงมาได้ นี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ “ประชาคมนักเก็บชา” จะต้องมีความรู้ที่พอสมควร ความจริงได้ชี้ชัดแล้วว่า ผู้แทนจำหน่าย นักวิจัย นักชิมประเมินที่ดีเด่นจำนวนมากของชาผูเอ๋อร์มาจากสังคมนี้ พวกเขาอยู่ใกล้ชิดผู้บริโภคมากที่สุด และเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด ยิ่งเป็นกลุ่มคนที่พูดแล้วมีน้ำหนักมากที่สุด ”ประชาคมนักเก็บชา” ปรากฏมีนักวิจัยชาผูเอ๋อร์และบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งภายในและต่างประเทศจำนวนมากล้วนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป พวกเขาบางคนดำรงชีพอยู่ที่หยินหนาน แต่ส่วนใหญ่จะอยู่นอกหยินหนาน ทำให้ชาผูเอ๋อร์มีอีกมุมหนึ่งของ “ภาพตรึงตราใจ”
ตั้งแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบัน นักวิจัยชาผูเอ๋อร์ที่ดีเด่นจำนวนมากล้วนอยู่นอกหยินหนาน ในสมัยราชวงคศ์ชิง เช่น หย่วนฝู(阮福 : ผู้เขียน《บันทึกชาผูเอ๋อร์》) จ้าวเสหมิ่น(赵学敏 : ผู้เขียน 《A Supplement to the Compendium of Materia Medica》) และปัจจุบันนักศึกษาชาผูเอ๋อร์ผู้ยิ่งใหญ่ ชาวใต้หวันเช่น เติ้งสือไห่(邓时海) สือคุนมู่(石昆牧) ชาวฮ่องกงคือ บ๋ายสุ่ยชิง(白水清) คนกว่างตงคือ หลินหยวงคุน(林荣坤) เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นคนนอกหยินหนาน และล้วนเป็นผู้มีชื่อเสียงอันโด่งดังใน “ประชาคมนักเก็บชา”
(4) การเกิด “กระแสชาผูเอ๋อร์” ทุกครั้ง ล้วนแพร่จากภายนอกเข้าสู่ภายในมณฑลหยินหนาน
พลังแห่งการชี้นำทั่วไปเกิดจาก “ประชาคมนักเก็บชา” เป็นใจกลาง พวกเขาไม่ใช่ “นักปั่น” ทั่วๆไป แต่เป็นนักศึกษา ผู้สร้างสรรค์และผู้ผลักดัน พวกเขาทราบดีว่า เป็นไปตามที่วิทยาสาสตร์และเทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวหน้า คุณภาพชีวิตของคนเราได้ยกระดับดีขึ้น ได้ให้ความสนใจมากขึ้นทางเครื่องดื่ม---โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารจากการหมัก การใช้จ่ายก็เพื่อความมั่นใจทางเล็งเห็นการณ์ไกล ก่อให้เกิดแนวคิดเชิงจิตวิสัยโดยรรมชาติ---การนำเสนอเครื่องดื่มทีมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าให้แก่ผู้บริโภค คือคุณค่าทางหลักปรัชญาที่เป็นแก่นแท้ของ “ประชาคมนักเก็บชา”
แน่นอน คุณค่าของแก่นสารนี้ สิ่งที่มีความดีความชอบมากที่สุดก็ต้องเป็นชาผูเอ๋อร์ ถ้าหากไม่เป็นเพราะระบบทางคุณค่าที่มีเฉพาะในชาผูเอ๋อร์ และช่องว่างที่เหลือเตรียมไว้ให้สร้างสรรค์ และถ้าหากไม่เป็นเพราะใจกว้างเหมือนแม่น้ำ(海纳百川)ของคนหยินหนาน การไม่ยืนอยู่กับที่เพื่อจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า(固步自封) มือไม่ได้กำชาผูเอ๋อร์จนแน่นไม่ยอมปล่อย มิฉะนั้น การจะเกิด “ประชาคมนักเก็บชา” ยากยิ่งกว่าขึ้นสวรรค์ ดังนั้น ในบทความ《4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์---คุณค่าทางภูมิศาสตร์》ผู้เขียนได้สะท้อนให้เห็นว่า ชาผูเอ๋อร์เป็น “วัฒนธรรมนานาชาติ”(海洋文化) มันกำเนิดจากหยินหนาน หยั่งรากลงลึกที่กว่างตง ฮ่องกง ใต้หวัน มีฉากหลังของวัฒนธรรม เช่นกัน การปรากฏของ “ประชาคมนักเก็บชา” ไม่ใช่เป็นเหตุบังเอิญ เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดตามวัฒนธรรมผูเอ๋อร์ที่ยิ่งใหญ่
สุดท้าย สามารถที่จะกล่าวสรุปได้ว่า การสร้างสรรค์คุณภาพของชาผูเอ๋อร์เป็นผลผลิตจากความร่วมมือข้ามมณฑล ไม่ใช่สิ่งที่หยินหนานมณฑลเดียวสามารถจะกระทำให้สำเร็จเพียงลำพังได้ จากความหมายนี้ ชาผูเอ๋อร์คือผลึกทางภูมิปัญญาของ สังคมใหญ่” ที่มาเกาะติดกันแน่น...
........จบบริบูรณ์........
หมายเหตุ : บทความแปล “คุณค่าที่ 3 : คุณค่าทางพัฒนาการ” ได้จบสิ้นลงแล้ว นั่นแสดงว่าบทความซีรีย์《4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์》ก็ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ด้วย 4 บทความฉะนี้ ทางผู้แปลได้ทำการแปล “คุณค่าที่ 4 : คุณค่าขององค์ประกอบที่มีสรรพคุณและกลไกทางยา” โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน :
• ตอนที่ 1 : ชาผูเอ๋อร์เป็นเครื่องดื่มที่ครบครันด้วย “สารัตถประโยชขน์ที่ 3” โดยได้โพสต์เมื่อ 13 ก.พ. 58
• ตอนที่ 2 : คุณประโยชน์ทางตรงของชาผูเอ๋อร์ โดยได้โพสต์เมื่อ 20 ก.พ. 58
• ตอนที่ 3 : สรรพคุณซ่อนเร้นของชาผูเอ๋อร์ โดยได้โพสต์เมื่อ 24 ก.พ. 58
ผู้แปลได้ข้ามลำดับไปแปลคุณค่าสุดท้ายของชาผูเอ๋อร์ก่อน ซึ่งถือเป็น “ผลลัพธ์” จากปฐมเหตุของ 3 คุณค่าแรกที่ถือเป็น “กระบวนการ” ซึ่งก็คือแปลจากผลไปหาเหตุ เพื่อการ “เข้าใจและเข้าถึง : 知其然还要知其所以然 : Know How and Know Why”
เพื่อเป็นการสรุปรวบยอด《4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์》และเพื่อเป็นการให้เกียรติและแสดงความคารวะและขอบคุณต่อผู้เขียน : เฉินเจี๋ย และ คิดอย่างไร...เขียนตามนั้น เป็นความรู้สึกที่สัมผัสได้ของผู้แปลที่ทำการแปลบทความฯชุดนี้ ทางผู้แปลจึงได้เขียนบทความตอนพิเศษ : “ปัจฉิมลิขิตจากผู้แปล《4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์》” เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ตอน...สนใจติดตามอ่านได้ครับ
(แปล-เรียบเรียง-เขียน จากบทความ 《4
คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์》 --- คุณค่าที่ 3 : “คุณค่าทางพัฒนาการ”...เขียนโดย เฉินเจี๋ย)
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
คุณค่าทางพัฒนาการ (6)
คุณค่าขององค์ประกอบที่มีสรรพคุณและกลไกทางยา (1)
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
คุณค่าทางพัฒนาการ (6)
คุณค่าขององค์ประกอบที่มีสรรพคุณและกลไกทางยา (1)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น