คุณค่าที่ 2 ใน 4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์ :
คุณค่าทางกรรมวิธีการผลิตที่พิเศษเฉพาะ (8)
普洱茶的四大价值之二 : 特殊工艺价值 (八)
คุณค่าทางกรรมวิธีการผลิตที่พิเศษเฉพาะ (8)
普洱茶的四大价值之二 : 特殊工艺价值 (八)
⑵ บรรลุการเพาะเชื้อตามธรรมชาติครั้งที่ 2
จากมุมมองด้านการหมักทางชีวภาพ การเพาะเชื้อตามธรรมชาติครั้งแรกในกระบวนการตากเขียวของชาผูเอ๋อร์ อาศัยจุลินทรีย์ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก การเพาะเชื้อตามธรรมชาติครั้งที่สองในกระบวนการอัดขึ้นรูปเป็นของแข็ง(รวมหมักกองของชาสุกผูเอ๋อร์) อาศัยจุลินทรีย์ไม่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก สิ่งที่อยากจะเน้นย้ำคือ การเพาะเชื้อทั้งสองครั้งนี่เป็นการเพาะเชื้อตามธรรมชาติ
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ถ้าป็นการหมักทางชีวภาพ จะต้องมีกระบวนการ “การเพาะเชื้อ”(接种) “การเพาะเชื้อ” แบ่งออกเป็น 2 แบบ : 1 การเพาะเชื้อตามธรรมชาติ 2 การเพาะเชื้อแบบประดิษฐ์
ผู้คนจำนวนมากมีความเข้าใจผิด เชื่อว่าการเพาะเชื้อตามธรรมชาติจะล้าหลังกว่าการเพาะเชื้อแบบประดิษฐ์ เพราะการเพาะเชื้อแบบประดิษฐ์กระทำการภายในอาคารปฏิบัติการภายใต้เงื่อนไขทางอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่พร้อมสรรพ สามารถกระทำการในระบบปิดไม่ว่าจะอยู่ในเขตพื้นที่ใดๆ แต่การเพาะเชื้อตามธรรมชาติไม่เหมือนกัน มันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่เฉพาะเจาะจงอย่างมาก ไม่สามารถกระทำการในระบบปิด ต้องดำเนินการในพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้น เชิงเป็นลักษณะพื้นที่นิยมที่พิเศษเฉพาะ
การหมักโดยการเพาะเชื้อตามธรรมชาติแบบนี้จะมี “สารใน”(内质) ที่พิเศษเฉพาะ และมีจุดเด่นที่ไม่สามารถปลอมแปลงและเลียนแบบได้ อย่างเช่นเหล้าขาวเหมาไถจากกุ๊ยโจวไม่สามารถผลิตจากพื้นที่อื่นได้ พวกเราสามารถทำการเลียนแบบอาคารโรงงาน อุปกรณ์และวิธีการ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถเลียนแบบได้คือกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ ดินของบ่อหมักเหล้าเหมาไถในห้องใต้ดินเป็น “ที่กาฝาก” ของกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์เฉพาะ ซึ่งถือเป็น “ความลับสุดยอด” ของโรงงานเหล้าเหมาไถ เหล้าจากการหมักของกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์นี้ก็คือ “รสเหมาไถ” ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ “รสท้องถิ่น” ของเหล้าก็จะมีรสเพี้ยนไป ชาผูเอ่อร์ก็ทำนองเดียวกัน “รสเมิ้งไห่” ของโรงงานเมิ้งไห่ “รสเซี่ยกวน” ของโรงงานเซี่ยกวน ล้วนต้องเกี่ยวข้องกับกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่พิเศษเฉพาะ เป็น “ลักษณะพิเศษ” ที่ไม่สามารถเลียนแบบได้
⑶ การปกป้องรักษา “ชีวิต” ที่เป็นลักษณะพิเศษของชาผูเอ๋อร์
ที่กล่าวกันว่าชาผูเอ๋อร์มีลักษณะพิเศษคือมี “ชีวิต”(活) เป็นเพราะว่าสารประกอบภายในชาผูเอ๋อร์สามารถรับประกันสำหรับกระบวนการหมักอย่างต่อเนื่อง การหมักอย่างต่อเนื่องเช่นนี้นอกจากสารประกอบภายในใบชามีอย่างอุดมสมบูรณ์แล้ว เงื่อนไขของวิธีการหมักยังต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดมาก ที่สำคัญคือการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้ดี
กรณีของอุณหภูมิ ไม่ว่าอุณหภูมิ “อัดร้อน” ของการอัดขึ้นรูปและ “หมักกอง” ต้องไม่เกินกว่า 60ºC เช่นเดียวกับอุณหภูมิ “ฆ่าเขียว” ในกระบวนการตากเขียวที่เราได้พิสูจน์แล้ว 60ºC คือ “ขอบเขตความเป็นความตาย” ของชาผูเอ๋อร์ แต่พวกเราอาจยังมีข้อสงสัยว่า : “ไอน้ำร้อน” ก่อนการอัดขึ้นรูปชาผูเอ๋อร์และระหว่างกระบวนการหมักกอง น่าจะมีอุณหภูมิเกินกว่าระหว่าง 75ºC-85ºC แล้วกล่าวได้อย่างไงว่าเป็น 60ºC ?
1. ไอน้ำร้อนก่อนการอัดขึ้นรูปจะไหลไปตามท่อ จะเกิดการสูญเสียปริมาณความร้อน และระยะเวลาการ “นึ่งชา” จะสั้น อุณหภูมิของไอน้ำร้อนที่ปากทางออกอาจเหลือประมาณ 70ºC และเมื่อไอน้ำร้อนสัมผัสกับใบชา ความชื้นในใบชาทำให้ปริมาณความร้อนลดต่ำลงมาอีก ประกอบกับสารเพคทิน(Pectin : คาร์โบไฮเดรตที่มี นน. โมเลกุลสูง)ในใบชาเมื่อได้รับความร้อน จะกลายเป็นแผ่นฟิล์มโพลิเมอร์บางๆปกป้อง ทำให้อุณหภูมิในตัวใบชาไม่เกิน 60ºC นักผลิตชาที่มีประสบการณ์จะระมัดระวังเป็นพิเศษในการควบคุมระยะเวลาของ “นึ่งชา” ระยะเวลาต้องสั้นเพื่อ “นึ่ง” ใบชาให้อ่อนตัว เหมาะในการอัดขึ้นรูป ไม่ใช่เพื่อ “นึ่งให้สุก”
2. อุณหภูมิของกระบวนการ “หมักกอง” ก็ไม่เกินกว่า 60ºC ผู้คนจำนวนมากเชื่อว่าอุณหภูมิสูงสุดของหมักกองอาจถึง 85ºC บางครั้งอาจเกินกว่า ถ้าเป็นอุณหภูมิเช่นนี้ หมักกองกองนี้อาจถือว่าล้มเหลวแล้ว ในองค์กรผลิตชาผูเอ๋อร์ของหยินหนาน พวกเราจะสังเกตเห็นอาจารย์ผู้มากด้วยประสบการณ์ จะใช้มือสอดเข้าไปในกองเพื่อตรวจสอบอุณหภูมิโดยตรง ถ้าอุณหภูมิหมักกองเกินกว่า 60ºC จะเกิด “ปรากฏการณ์เผาตาย” คือในกองจะปรากฏ “ฉาเถา”(茶头 : หัวชา) ซึ่งเป็นผลงานของ “เผาตาย” การพลิกกองของหมักกองก็เพื่อแก้ปัญหาไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินไป ทันทีที่พบในกองร้อนเกินไป จะต้องรีบทำการผึ่งให้เย็นตัวลง แล้วจึงทำการหมักกองต่อ ตำนานการพลิกกองชาผูเอ๋อร์มีถึง 7 พลิก 9 พลิก ที่ผู้เขียนเคยพบเห็นสูงสุดถึง 14 พลิก ความเป็นจริง การพลิกกองแต่ละครั้งแล้วหมักกองต่อก็คือทำให้เกิดกระบวนการหมักใหม่ อย่างการหมักเหล้าเหมาไถสูงสุดต้องถึง 8 ครั้ง เผอิญกับการพลิกกองมากครั้งของชาผูเอ๋อร์แม้ใช้วิธีการต่างกันแต่เพื่อผลลัพธ์เหมือนกัน(异曲同工) เพราะฉะนั้น 60ºC คือกฏที่ต้องยึดมั่นของกระบวนการผลิตชาผูเอ๋อร์ การทำการผลิตชาผูเอ๋อร์ภายใต้ 60ºC ลงมา จึงจะสามารถรักษา “เอนไซม์” หลายๆชนิดในใบชาและการ “มีฤทธิ์” ของกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ นำไปสู่การปกป้องรักษา “ชีวิต” ของชาผูเอ๋อร์
ในช่วงระยะไม่กี่ปีมานี้ กรรมวิธีการผลิตที่พิเศษเฉพาะของชาผูเอ๋อร์ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เป็นหัวข้อที่ร้อนแรงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของใบชา โดยเฉพาะทางชีววิศวกรรม หน่วยงานวิจัยจำนวนมากได้อาศัยวิธีการผลิตชาผูเอ๋อร์มาประยุกต์ปรับปรุงวิธีการหมักของผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ เพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงยิ่งขึ้น
มีนักชีววิทยาได้ใช้ชาผูเอ๋อร์เป็นพาหะ เพื่อค้นหาและทำการแยกจุลินทรีย์ชนิดใหม่ เพราะพวกเขาเชื่อว่า ภายใต้การเพาะเชื้อตามธรรมชาติและกระบวนการหมักของชาผูเอ๋อร์ จะต้องมีกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่มีส่วนร่วมที่พวกเรายังไม่ทราบอีกมากมาย มีบางชนิดอาจเป็น “จุลินทรีย์ชนิดใหม่” ที่มนุษย์ยังไม่เคยค้นพบมาก่อน และมีความเป็นได้ที่มันจะเป็น “แหล่งยา” หม่ของยาทางชีวภาพ จะเป็น “พลังใหม่” ของคนเราในการต่อต้านโรคร้าย ถือเป็น “จุดโฟกัส” ที่สำคัญของการผลิตยาทางชีวภาพยุคสมัยใหม่
มีผู้เชี่ยวชาญทางชีววิศวกรรม ได้พยายามอย่างหนักโดยอาศัยวิธีการหมักที่เฉาพะของชาผูเอ๋อร์ บนพื้นฐานการเทียบเคียงกับ “รูปแบบการหมัก” ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อจะทำการคิดค้นสร้าง “รูปแบบการหมัก” ใหม่ เพราะพวกเขาทราบว่า สารที่ทำให้เกิดผลของการหมักจำนวนมากนอกจากกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่เราคุ้นเคยแล้ว อาจมีกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์บางส่วนที่พวกเราได้ละเลยไป อาจเนื่องจากพวกมันมีจำนวนน้อยมาก แต่มี “พลัง” มหาศาล เป็น “ปัจจัย” ที่สำคัญที่สุดในกระบวนการหมัก พวกมันอาจปรปักษ์ หรือเปลี่ยนแปลง หรืออยู่ร่วมกัน ต่างมี “รูปแบการหมัก” ที่เฉพาะของตนเอง เมื่อ “รูปแบบการหมัก” ใหม่สามารถกำหนดและสร้างขึ้นมาแล้ว จะมีความหมายอย่างมากต่อการเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางชีววิศวกรรมยุคสมัยใหม่
........จบบริบูรณ์........
หมายเหตุ : จบไปอีกหนึ่งบทความ “คุณค่าทางกรรมวิธีการผลิตที่พิเศษเฉพาะ” ทำให้เข้าใจและรับรู้ได้ว่า กรรมวิธีการผลิตชาผูเอ๋อร์ลักษณะนี้แม้เป็นแบบดั้งเดิมแต่แฝงด้วยภูมิปัญญา ดูจะธรรมดาแต่ทำให้เกิดสิ่งอัศจรรย์ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชาผูเอ๋อร์โดยอาศัยธรรมชาติมากที่สุด เกิดเป็นชิ้นงานศิลปะที่มีชีวิต
จากวัตถุดิบที่ดี(ใบชาผูเอ๋อร์จากคุณค่าทางภูมิศาสตร์) เมื่อผ่านกรรมวิธีการผลิตที่พิเศษเฉพาะแล้วเข้าสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ แต่ยังไม่เสร็จสิ้นเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย จากคำเปรียบเปรยชาผูเอ๋อร์ที่ว่า “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” นั่นแสดงว่าชาผูเอ๋อร์ไม่ใช่การดื่มความ “สด” แต่เป็นการดื่มความ “เก๋า” ของมัน หมายความว่าจะต้องเก็บชาผูเอ๋อร์ไว้สักช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้เกิดการหมักภายหลังอย่างต่อเนื่อง หรือทั่วไปเข้าใจคือ “กระบวนพัฒนาการ”
ทำไมชาผูเอ๋อร์ต้องมีกระบวนพัฒนาการ?...ถ้าหากยังไม่เหนื่อยจากการติดตามอ่าน 2 บทความที่ผ่านมา(มีความยาวพอสมควร) อย่าลืมติดตามอ่านบทความ(แปล)ที่ต่อเนื่อง “คุณค่าที่ 3---คุณค่าทางพัฒนาการของชาผูเอ๋อร์” ในเฟสเพจนี้เหมือนเดิมครับ (ข้อแนะนำ : ในขณะที่อ่านบทความ “ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์” อย่าลืมจิบดื่มน้ำชาผูเอ๋อร์อุ่นๆไปด้วย จะทำให้ได้อรรถรสทั้งจากการอ่านและจากการจิบดื่มเพิ่มเป็นทวีคูณ...)
จากมุมมองด้านการหมักทางชีวภาพ การเพาะเชื้อตามธรรมชาติครั้งแรกในกระบวนการตากเขียวของชาผูเอ๋อร์ อาศัยจุลินทรีย์ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก การเพาะเชื้อตามธรรมชาติครั้งที่สองในกระบวนการอัดขึ้นรูปเป็นของแข็ง(รวมหมักกองของชาสุกผูเอ๋อร์) อาศัยจุลินทรีย์ไม่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก สิ่งที่อยากจะเน้นย้ำคือ การเพาะเชื้อทั้งสองครั้งนี่เป็นการเพาะเชื้อตามธรรมชาติ
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ถ้าป็นการหมักทางชีวภาพ จะต้องมีกระบวนการ “การเพาะเชื้อ”(接种) “การเพาะเชื้อ” แบ่งออกเป็น 2 แบบ : 1 การเพาะเชื้อตามธรรมชาติ 2 การเพาะเชื้อแบบประดิษฐ์
ผู้คนจำนวนมากมีความเข้าใจผิด เชื่อว่าการเพาะเชื้อตามธรรมชาติจะล้าหลังกว่าการเพาะเชื้อแบบประดิษฐ์ เพราะการเพาะเชื้อแบบประดิษฐ์กระทำการภายในอาคารปฏิบัติการภายใต้เงื่อนไขทางอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่พร้อมสรรพ สามารถกระทำการในระบบปิดไม่ว่าจะอยู่ในเขตพื้นที่ใดๆ แต่การเพาะเชื้อตามธรรมชาติไม่เหมือนกัน มันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่เฉพาะเจาะจงอย่างมาก ไม่สามารถกระทำการในระบบปิด ต้องดำเนินการในพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้น เชิงเป็นลักษณะพื้นที่นิยมที่พิเศษเฉพาะ
การหมักโดยการเพาะเชื้อตามธรรมชาติแบบนี้จะมี “สารใน”(内质) ที่พิเศษเฉพาะ และมีจุดเด่นที่ไม่สามารถปลอมแปลงและเลียนแบบได้ อย่างเช่นเหล้าขาวเหมาไถจากกุ๊ยโจวไม่สามารถผลิตจากพื้นที่อื่นได้ พวกเราสามารถทำการเลียนแบบอาคารโรงงาน อุปกรณ์และวิธีการ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถเลียนแบบได้คือกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ ดินของบ่อหมักเหล้าเหมาไถในห้องใต้ดินเป็น “ที่กาฝาก” ของกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์เฉพาะ ซึ่งถือเป็น “ความลับสุดยอด” ของโรงงานเหล้าเหมาไถ เหล้าจากการหมักของกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์นี้ก็คือ “รสเหมาไถ” ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ “รสท้องถิ่น” ของเหล้าก็จะมีรสเพี้ยนไป ชาผูเอ่อร์ก็ทำนองเดียวกัน “รสเมิ้งไห่” ของโรงงานเมิ้งไห่ “รสเซี่ยกวน” ของโรงงานเซี่ยกวน ล้วนต้องเกี่ยวข้องกับกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่พิเศษเฉพาะ เป็น “ลักษณะพิเศษ” ที่ไม่สามารถเลียนแบบได้
⑶ การปกป้องรักษา “ชีวิต” ที่เป็นลักษณะพิเศษของชาผูเอ๋อร์
ที่กล่าวกันว่าชาผูเอ๋อร์มีลักษณะพิเศษคือมี “ชีวิต”(活) เป็นเพราะว่าสารประกอบภายในชาผูเอ๋อร์สามารถรับประกันสำหรับกระบวนการหมักอย่างต่อเนื่อง การหมักอย่างต่อเนื่องเช่นนี้นอกจากสารประกอบภายในใบชามีอย่างอุดมสมบูรณ์แล้ว เงื่อนไขของวิธีการหมักยังต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดมาก ที่สำคัญคือการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้ดี
กรณีของอุณหภูมิ ไม่ว่าอุณหภูมิ “อัดร้อน” ของการอัดขึ้นรูปและ “หมักกอง” ต้องไม่เกินกว่า 60ºC เช่นเดียวกับอุณหภูมิ “ฆ่าเขียว” ในกระบวนการตากเขียวที่เราได้พิสูจน์แล้ว 60ºC คือ “ขอบเขตความเป็นความตาย” ของชาผูเอ๋อร์ แต่พวกเราอาจยังมีข้อสงสัยว่า : “ไอน้ำร้อน” ก่อนการอัดขึ้นรูปชาผูเอ๋อร์และระหว่างกระบวนการหมักกอง น่าจะมีอุณหภูมิเกินกว่าระหว่าง 75ºC-85ºC แล้วกล่าวได้อย่างไงว่าเป็น 60ºC ?
1. ไอน้ำร้อนก่อนการอัดขึ้นรูปจะไหลไปตามท่อ จะเกิดการสูญเสียปริมาณความร้อน และระยะเวลาการ “นึ่งชา” จะสั้น อุณหภูมิของไอน้ำร้อนที่ปากทางออกอาจเหลือประมาณ 70ºC และเมื่อไอน้ำร้อนสัมผัสกับใบชา ความชื้นในใบชาทำให้ปริมาณความร้อนลดต่ำลงมาอีก ประกอบกับสารเพคทิน(Pectin : คาร์โบไฮเดรตที่มี นน. โมเลกุลสูง)ในใบชาเมื่อได้รับความร้อน จะกลายเป็นแผ่นฟิล์มโพลิเมอร์บางๆปกป้อง ทำให้อุณหภูมิในตัวใบชาไม่เกิน 60ºC นักผลิตชาที่มีประสบการณ์จะระมัดระวังเป็นพิเศษในการควบคุมระยะเวลาของ “นึ่งชา” ระยะเวลาต้องสั้นเพื่อ “นึ่ง” ใบชาให้อ่อนตัว เหมาะในการอัดขึ้นรูป ไม่ใช่เพื่อ “นึ่งให้สุก”
2. อุณหภูมิของกระบวนการ “หมักกอง” ก็ไม่เกินกว่า 60ºC ผู้คนจำนวนมากเชื่อว่าอุณหภูมิสูงสุดของหมักกองอาจถึง 85ºC บางครั้งอาจเกินกว่า ถ้าเป็นอุณหภูมิเช่นนี้ หมักกองกองนี้อาจถือว่าล้มเหลวแล้ว ในองค์กรผลิตชาผูเอ๋อร์ของหยินหนาน พวกเราจะสังเกตเห็นอาจารย์ผู้มากด้วยประสบการณ์ จะใช้มือสอดเข้าไปในกองเพื่อตรวจสอบอุณหภูมิโดยตรง ถ้าอุณหภูมิหมักกองเกินกว่า 60ºC จะเกิด “ปรากฏการณ์เผาตาย” คือในกองจะปรากฏ “ฉาเถา”(茶头 : หัวชา) ซึ่งเป็นผลงานของ “เผาตาย” การพลิกกองของหมักกองก็เพื่อแก้ปัญหาไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินไป ทันทีที่พบในกองร้อนเกินไป จะต้องรีบทำการผึ่งให้เย็นตัวลง แล้วจึงทำการหมักกองต่อ ตำนานการพลิกกองชาผูเอ๋อร์มีถึง 7 พลิก 9 พลิก ที่ผู้เขียนเคยพบเห็นสูงสุดถึง 14 พลิก ความเป็นจริง การพลิกกองแต่ละครั้งแล้วหมักกองต่อก็คือทำให้เกิดกระบวนการหมักใหม่ อย่างการหมักเหล้าเหมาไถสูงสุดต้องถึง 8 ครั้ง เผอิญกับการพลิกกองมากครั้งของชาผูเอ๋อร์แม้ใช้วิธีการต่างกันแต่เพื่อผลลัพธ์เหมือนกัน(异曲同工) เพราะฉะนั้น 60ºC คือกฏที่ต้องยึดมั่นของกระบวนการผลิตชาผูเอ๋อร์ การทำการผลิตชาผูเอ๋อร์ภายใต้ 60ºC ลงมา จึงจะสามารถรักษา “เอนไซม์” หลายๆชนิดในใบชาและการ “มีฤทธิ์” ของกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ นำไปสู่การปกป้องรักษา “ชีวิต” ของชาผูเอ๋อร์
ในช่วงระยะไม่กี่ปีมานี้ กรรมวิธีการผลิตที่พิเศษเฉพาะของชาผูเอ๋อร์ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เป็นหัวข้อที่ร้อนแรงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของใบชา โดยเฉพาะทางชีววิศวกรรม หน่วยงานวิจัยจำนวนมากได้อาศัยวิธีการผลิตชาผูเอ๋อร์มาประยุกต์ปรับปรุงวิธีการหมักของผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ เพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงยิ่งขึ้น
มีนักชีววิทยาได้ใช้ชาผูเอ๋อร์เป็นพาหะ เพื่อค้นหาและทำการแยกจุลินทรีย์ชนิดใหม่ เพราะพวกเขาเชื่อว่า ภายใต้การเพาะเชื้อตามธรรมชาติและกระบวนการหมักของชาผูเอ๋อร์ จะต้องมีกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่มีส่วนร่วมที่พวกเรายังไม่ทราบอีกมากมาย มีบางชนิดอาจเป็น “จุลินทรีย์ชนิดใหม่” ที่มนุษย์ยังไม่เคยค้นพบมาก่อน และมีความเป็นได้ที่มันจะเป็น “แหล่งยา” หม่ของยาทางชีวภาพ จะเป็น “พลังใหม่” ของคนเราในการต่อต้านโรคร้าย ถือเป็น “จุดโฟกัส” ที่สำคัญของการผลิตยาทางชีวภาพยุคสมัยใหม่
มีผู้เชี่ยวชาญทางชีววิศวกรรม ได้พยายามอย่างหนักโดยอาศัยวิธีการหมักที่เฉาพะของชาผูเอ๋อร์ บนพื้นฐานการเทียบเคียงกับ “รูปแบบการหมัก” ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อจะทำการคิดค้นสร้าง “รูปแบบการหมัก” ใหม่ เพราะพวกเขาทราบว่า สารที่ทำให้เกิดผลของการหมักจำนวนมากนอกจากกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่เราคุ้นเคยแล้ว อาจมีกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์บางส่วนที่พวกเราได้ละเลยไป อาจเนื่องจากพวกมันมีจำนวนน้อยมาก แต่มี “พลัง” มหาศาล เป็น “ปัจจัย” ที่สำคัญที่สุดในกระบวนการหมัก พวกมันอาจปรปักษ์ หรือเปลี่ยนแปลง หรืออยู่ร่วมกัน ต่างมี “รูปแบการหมัก” ที่เฉพาะของตนเอง เมื่อ “รูปแบบการหมัก” ใหม่สามารถกำหนดและสร้างขึ้นมาแล้ว จะมีความหมายอย่างมากต่อการเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางชีววิศวกรรมยุคสมัยใหม่
........จบบริบูรณ์........
หมายเหตุ : จบไปอีกหนึ่งบทความ “คุณค่าทางกรรมวิธีการผลิตที่พิเศษเฉพาะ” ทำให้เข้าใจและรับรู้ได้ว่า กรรมวิธีการผลิตชาผูเอ๋อร์ลักษณะนี้แม้เป็นแบบดั้งเดิมแต่แฝงด้วยภูมิปัญญา ดูจะธรรมดาแต่ทำให้เกิดสิ่งอัศจรรย์ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชาผูเอ๋อร์โดยอาศัยธรรมชาติมากที่สุด เกิดเป็นชิ้นงานศิลปะที่มีชีวิต
จากวัตถุดิบที่ดี(ใบชาผูเอ๋อร์จากคุณค่าทางภูมิศาสตร์) เมื่อผ่านกรรมวิธีการผลิตที่พิเศษเฉพาะแล้วเข้าสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ แต่ยังไม่เสร็จสิ้นเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย จากคำเปรียบเปรยชาผูเอ๋อร์ที่ว่า “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” นั่นแสดงว่าชาผูเอ๋อร์ไม่ใช่การดื่มความ “สด” แต่เป็นการดื่มความ “เก๋า” ของมัน หมายความว่าจะต้องเก็บชาผูเอ๋อร์ไว้สักช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้เกิดการหมักภายหลังอย่างต่อเนื่อง หรือทั่วไปเข้าใจคือ “กระบวนพัฒนาการ”
ทำไมชาผูเอ๋อร์ต้องมีกระบวนพัฒนาการ?...ถ้าหากยังไม่เหนื่อยจากการติดตามอ่าน 2 บทความที่ผ่านมา(มีความยาวพอสมควร) อย่าลืมติดตามอ่านบทความ(แปล)ที่ต่อเนื่อง “คุณค่าที่ 3---คุณค่าทางพัฒนาการของชาผูเอ๋อร์” ในเฟสเพจนี้เหมือนเดิมครับ (ข้อแนะนำ : ในขณะที่อ่านบทความ “ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์” อย่าลืมจิบดื่มน้ำชาผูเอ๋อร์อุ่นๆไปด้วย จะทำให้ได้อรรถรสทั้งจากการอ่านและจากการจิบดื่มเพิ่มเป็นทวีคูณ...)
(แปล-เรียบเรียง-ย่อ
จากบทความ 《4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์》 --- คุณค่าที่ 2 : “คุณค่าทางกรรมวิธีการผลิตที่พิเศษเฉพาะ”...เขียนโดย
เฉินเจี๋ย)
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
คุณค่าทางกรรมวิธีการผลิตที่พิเศษเฉพาะ (7)
คุณค่าทางพัฒนาการ (1)
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
คุณค่าทางกรรมวิธีการผลิตที่พิเศษเฉพาะ (7)
คุณค่าทางพัฒนาการ (1)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น