วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

สองเส้นทางของการจัดเก็บชาผูเอ่อร์...(ตอน 2/2)

 



        รูปสัณฐานใบชาแบบไหนที่มีผลดีต่อการจัดเก็บ?


        ภายใต้วัตถุดิบและสภาวะการจัดเก็บที่เหมือนกัน รูปสัณฐานที่ไม่เหมือนกันจะมีผลกระทบต่อพัฒนาการช่วงหลังหรือไม่? - มีผลกระทบ

        สภาพแวดล้อมจุลภาคของพัฒนาการโดยจุลินทรีย์จะต้องรักษาให้คงที่เท่าที่เป็นไปได้ ดังนั้น รูปสัณฐานที่ดีที่สุดของชาเก็บก็คือนำมันมาอัดขึ้นรูป ยิ่งอัดแน่นยิ่งคงที่ ด้านหนึ่งลดการออกซิเดชั่น ด้านหนึ่งรักษาปริมาณน้ำ รูปสัณฐานของชาอัดขึ้นรูปที่พบเห็นบ่อยมีดังต่อไปนี้ :


        ๑.  แผ่นบล็อกเหล็ก ซึ่งจะอัดแน่นมาก สภาพแวดล้อมจุลภาคในแผ่นชารูปสัณฐานแบบนี้จะคงที่มาก นักดื่มชามากประสบการณ์ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า แผ่นบล็อกเหล็กแก่มีรสชาติดีกว่าแผ่นกลมที่อายุปีเดียวกัน

▲แผ่นบล็อกเหล็ก

        ๒.  แผ่นอิฐ ซึ่งก็สามารถอัดให้แน่น และจัดเก็บวางทับซ้อนแผ่นต่อแผ่นได้ง่าย ลดอากาศที่ถ่ายเท สภาพแวดล้อมจุลภาคของแผ่นอิฐจะคงที่มาก

▲แผ่นอิฐ

        ๓.  แผ่นกลม ที่อัดแผ่นโดยบล็อกหิน เป็นรูปสัณฐานที่นิยมมากที่สุด มีพัฒนาการสู้แผ่นบล็อกเหล็กไม่ได้ แต่ดำรงชาเส้นไว้คงเป็นเส้นสมบูรณ์ และง่ายต่อการแซะแผ่นชา

▲แผ่นกลม

        ๔.  ชาเส้น เนื่องจากมีโครงสร้างที่หลวม จึงมีผลต่อการออกซิเดชั่นอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะถ้าเก็บชาเส้นในสภาพแวดล้อมที่อากาศถ่ายเท ง่ายต่อการเกิดออกซิเดชั่นมากเกินไป แต่สะดวกที่สุดในการนำมาชงดื่มประจำวัน

▲ชาเส้น


        กล่าวโดยองค์รวม ถ้าหากพิจารณาเพียงเพื่อการจัดเก็บ ลำดับจากที่เหมาะสมถึงที่ไม่เหมาะสมคือ : แผ่นอิฐ แผ่นบล็อกเหล็ก แผ่นกลม ชาเส้น 

        ส่วนรูปพรรณสัณฐานอื่นๆ อาทิเช่น ถัว ฟักทอง ซึ่งต้องวิเคราะห์ตามระดับการอัดแน่น ในที่นี้จึงขอไม่สาธยาย


        สภาพแวดล้อมลักษณะไหนที่มีผลดีต่อการจัดเก็บ?


        ความจริงสภาพแวดล้อมมหาภาพภายนอกมีผลกระทบโดยตรงต่อสภาพแวดล้อมจุลภาคในใบชา ถ้าหากสภาพแวดล้อมจุลภาคในใบชาทำให้เป็นเอกเทศที่เหมาะสม ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมจุลภาคที่คงที่โดยสร้างขึ้นมาของมนุษย์(ควบคุมการออกซิเดชั่น ควบคุมปริมาณน้ำให้คงที่)


        ชาแผ่นเดี่ยวเก็บในถุงกันความชื้นที่เก็บชาได้แผ่นเดียวก็เป็นการจัดเก็บที่ได้ผล ชาปริมาณน้อยสามารถจัดเก็บในถ้ำชาเครื่องเคลือบหรือถ้ำชาดีบุก ข้อควรสังเกต ถ้ำชาจื่อซาที่ระบายอากาศและน้ำได้ไม่เป็นผลดีต่อการเก็บชาไว้นานๆ แต่ถ้ำชาจื่อซาเป็นภาชนะที่เหมาะใช้ในการปลุกชา

        ชาที่เป็นลังเนื่องจากมีกาบไม้ไผ่และกล่องกระดาษปกป้องรักษาไว้ ทำให้ตัดขาดกับภายนอก สภาพแวดล้อมภายในลังจะคงที่ แต่กล่องกระดาษทั่วไปจะไม่กันนน้ำ จึงห่มกล่องกระดาษด้วยพลาสติกส์อีกชั้นเพื่อกันความชื้น


        จะต้องเก็บชาที่คุ้มค่าในการจัดเก็บ


        สุดท้ายพึงระลึกเสมอว่า การจัดเก็บชา จะต้องเก็บชาที่คุ้มค่าในการจัดเก็บ จะมีคุณค่าของการจัดเก็บก็ต่อเมื่อชาผูเอ่อร์บรรลุคุณลักษณะเฉพาะที่ “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ซึ่ง “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ของชาผูเอ่อร์เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในการหมักช่วงหลัง

        มองผ่านแว่นขยายก็คือสารไกลโคไซด์ป้อนพลังงานเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์เพิ่มจำนวนมากขึ้น จุลินทรีย์ก็กระทำกิจกรรมคืบหน้าต่อไปย่อยสลายเส้นใย ก่อให้เกิดทีโพลิแซคคาไรด์ที่ละลายน้ำและกรดอะมิโนอิสระ ทำให้มวลน้ำชาเปลี่ยนไปทางหนา ความดื่มด่ำทางลำคอเปลี่ยนไปทางลึก “ไกลโคไซด์” ต้องมีปริมาณที่มากเพียงพอ “ศักยภาพ” ของชาผูเอ่อร์จึงจะสูงเพียงพอ

        ใบชาสดจากต้นชาเติบโตเต็มที่ที่ปลูกแบบห่างๆเมื่อเทียบกับใบชาสดจากต้นเล็กที่ปลูกแบบถี่ๆ จะมีไกลโคไซด์ประกอบอยู่ในปริมาณที่มากกว่า กรรมวิธีการผลิตมาตรฐานจะสามารถดำรงคงไว้ไกลโคไซด์มากกว่ากรรมวิธีการผลิตออกซิเดชั่น


        คุณภาพของชาผูเอ่อร์ก่อนเข้าโกดัง พูดได้คำเดียว : “วัตถุดิบกำหนดระดับบน กรรมวิธีการผลิตกำหนดระดับล่าง” การจัดเก็บเป็นขั้นตอยสุดท้ายที่สร้างคุณภาพของชาผูเอ่อร์ ถ้าหากวัตถุดิบและกรรมวิธีการผลิตไม่เป็นที่คาดหวัง การจัดเก็บถึงจะดีอย่างไงก็เปล่าประโยชน์ ชาที่มีวัตถุดิบดีและกรรมวิธีการผลิตที่ได้มาตรฐาน การจัดเก็บที่ดีจึงจะสามารถทำให้เพอร์เฟคขึ้น(เพิ่มลายดอกไม้ลงบนผ้าดิ้น/锦上添花” 


เอกสารอ้างอิง :

1. 生茶存下去到底能不能变成熟茶?         https://k.sina.cn/article_1835329250_6d64e6e201900zl7r.html?from=cul

1. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น